Browsing by Subject "พฤติกรรมผู้บริโภค"
Now showing 1 - 6 of 6
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการจำแนกความแตกต่างระหว่างกลุ่ม นักศึกษาหญิงสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และนักศึกษาหญิงสถาบันอุดมศึกษารัฐ โดยใช้ปัจจัยด้านความต้องการต่อส่วนประสมทางการตลาด 7P's เมื่อซื้อเสื้อนักศึกษาหญิง กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร(University of the Thai Chamber of Commerce, 2014)
; ; ; งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อการจำแนกความแตกต่างระหว่างกลุ่มนักศึกษาหญิงสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และนักศึกษาหญิงสถาบันอุดมศึกษารัฐ โดยใช้ปัจจัยด้านความต้องการต่อส่วนประสมทางการตลาด 7P's เมื่อซื้อเสื้อนักศึกษาหญิง กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มรวม 200 ชุด จากนั้นทำการประมวลผล โดยค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Discriminant Analysis สรุปผลได้ดังนี้ จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความต้องการต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในเรื่อง ราคา พนักงาน ผลิตภัณฑ์ สถานที่จัดจาหน่าย ซึ่งนักศึกษาหญิงสถาบันอุดมศึกษารัฐต้องการเสื้อนักศึกษาแบบถูกระเบียบตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ ต้องการพนักงานที่มีบุคลิกภาพดี ต้องการร้านค้าตั้งอยู่ในซุปเปอร์เซ็นเตอร์ เช่น โลตัส เป็นต้น ต้องการให้มีรายการราคาแจ้งอย่างชัดเจน และราคาถูกกว่าร้านอื่น ในทางกลับกัน นักศึกษาหญิงสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ต้องการเสื้อนักศึกษามีรูปแบบทันสมัยเพียงอย่างเดียว25 315 - Publicationการจำแนกความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ซื้อกระเป๋าประเภทไฮสตรีทแบรนด์ กับกลุ่มผู้ซื้อกระเป๋าประเภทลักชัวรี่แบรนด์ เพศหญิงจากร้านค้ารับฝากซื้อ โดยใช้ปัจจัยด้านความสำคัญของส่วนประสมการค้าปลีก กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร(University of the Thai Chamber of Commerce, 2014)
; ; ; 43 296 - Publicationการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการคอมเมนต์บนเพจแบรนด์สินค้าและความคาดหวังต่อการตอบกลับจากแบรนด์ของผู้บริโภคการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการคอมเมนต์บนเพจแบรนด์สินค้าของผู้บริโภค 2) เพื่อศึกษาการมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการคอมเมนต์บนเพจแบรนด์สินค้าของผู้บริโภค และ 3) เพื่อศึกษาความคาดหวังต่อการตอบกลับจากแบรนด์บนเพจแบรนด์ของผู้บริโภค โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เชิงคุณภาพ และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) หน่วยในการวิเคราะห์ ได้แก่ 1) เนื้อหาคอมเมนต์ที่ปรากฏในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2560 บนเพจทางการของเพจแบรนด์เครื่องดื่มยอดนิยม 3 เพจ ได้แก่ โค้ก จอห์นนี่วอล์คเกอร์ และอิชิตัน รวม 19,753 คอมเมนต์ 2) ผู้ร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูล (Coding Sheet) คู่มือบันทึกข้อมูล (Coding Handbook) และแนวคำถามในการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแบ่งคำหรือเนื้อหาที่น่าสนใจออกเป็นหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องหรือเหมือนกัน (Thematic Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการคอมเมนต์บนเพจแบรนด์สินค้าของผู้บริโภค มีทั้งหมด 21 รูปแบบ ได้แก่ (1) ข้อความ (2) สติกเกอร์ (3) ภาพเคลื่อนไหวไฟล์ GIF (4) สัญลักษณ์แสดงอารมณ์ (5) รูปภาพ (6) วิดีโอ (7) ที่อยู่เว็บไซต์ หรือลิงก์ (8) แท็กผู้ใช้รายอื่น (9) ข้อความ และสัญลักษณ์แสดงอารมณ์ (10) ข้อความและรูปภาพ (11) ข้อความและวิดีโอ (12) ข้อความและที่อยู่เว็บไซต์ หรือลิงก์ (13) ข้อความและสติกเกอร์ (14) ข้อความและแท็กผู้ใช้รายอื่น (15) สัญลักษณ์แสดงอารมณ์และแท็กผู้ใช้รายอื่น (16) สัญลักษณ์แสดงอารมณ์และรูปภาพ (17) ข้อความ แท็กผู้ใช้รายอื่น และรูปภาพ (18) ข้อความ สัญลักษณ์แสดงอารมณ์ และรูปภาพ (19) ข้อความ สัญลักษณ์แสดงอารมณ์และแท็กผู้ใช้รายอื่น (20) ข้อความ สัญลักษณ์แสดงอารมณ์และที่อยู่เว็บไซต์ หรือลิงก์และ (21) ข้อความ สัญลักษณ์แสดงอารมณ์ ที่อยู่เว็บไซต์ หรือลิงก์ และรูปภาพ 2. การคอมเมนต์สามารถแบ่งกลุ่มตามการมีปฏิสัมพันธ์ได้ 3 ด้าน คือ 1) การมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ 2) การมีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์ และ 3) การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล 3. ความคาดหวังของผู้บริโภคต่อการตอบกลับจากแบรนด์ประกอบไปด้วย คาดหวังให้แบรนด์ตอบกลับอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ตอบกลับต้องถูกกาลเทศะ สอดคล้องกับบุคลิกภาพของแบรนด์ อ่านคอมเมนต์ของผู้บริโภคก่อนจะตอบกลับ หากผู้บริโภคถามช่องทางไหน แบรนด์ควรตอบกลับช่องทางนั้น ตอบกลับแบบไม่มีเงื่อนไข ตอบกลับด้วยความใส่ใจและจริงใจ คาดหวังให้เจ้าของแบรนด์มาตอบกลับเอง และคาดหวังให้ความสำคัญกับคอมเมนต์ด้านบวกและด้านลบเท่าๆ กัน
92 1303 - Publicationการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกซื้อสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนาของผู้บริโภค ณ ช่วงปี พ.ศ. 2564งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติในการเลือกซื้อสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนา 2. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนา และ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าเกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมทางศาสนา วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติความสัมพันธ์ (Correlation) และค่าสถิติไค-สแควร์(Chi-Square) ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 200 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุประมาณ 21-30 ปีสถานภาพโสด นับถือศาสนาพุทธ การศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยอยู่ในช่วงต่ำกว่า 10,000 บาทจนถึง 30,000 บาท ผู้บริโภคมีความเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็น เลือกซื้อสินค้าจากความสะดวก ทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา โดยประมาณหนึ่งครั้งต่อเดือน ค่าใช้จ่ายไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง และบุคคลคนในครอบครัวมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำบุญ ผู้บริโภคให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพ ความหลากหลายของสินค้า ความเหมาะสมของราคา ความสะดวกสบายในการเดินทาง และอัธยาศัยที่ดีของผู้ขาย จากการสำรวจความคิดเห็นเพิ่มเติม พบว่าผู้บริโภคให้ความสนใจในสินค้าที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย
212 991 - Publicationปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ของมนุษย์เงินเดือน(University of the Thai Chamber of Commerce, 2014)
; ; ; The purpose of this research study is to study and to understand the behavior of target group, employee or Salaryman in Bangkok area, toward the use of online media related to advisory services from retail banking by comparing demographic profile. The goal is to understand whether there is any difference in term of accepting the online media among target group or not. The result will be used to improve and to formulate better marketing strategy and plan including promotion in order to catch attention of target group, employee or Salaryman in Bangkok area. The case study focus on the awareness of products and services of K-Expert from Kasikorn Bank among target group. Questionnaire was used as a tool to collect necessary information from 400 respondents focusing on gender, age, occupation, education level and income level. In order to understand whether there is any different in online media consumption from demographic factors whether there is any significant different, 0.05.101 769