Browsing by Subject "ผลตอบแทนการลงทุน"
Now showing 1 - 5 of 5
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนเลี้ยงกุ้งระหว่างกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนเลี้ยงกุ้งระหว่างกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร จำนวน 10 ราย ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งแต่ละราย ที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างนั้น จะเป็นบุคคลเดียวกัน ผู้วิจัยจะสัมภาษณ์ทั้งในด้านการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมนั้น ใน 1 รอบการเลี้ยงกุ้ง เกษตรกรมีต้นทุนการ ผลิตต่อไร่เฉลี่ย 246,212.90 บาท ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อไร่เฉลี่ย 2,955.25 บาท ยอดขายต่อไร่เฉลี่ย 358,017.27 บาท อัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยร้อยละ 28.76 อัตรากำไรสุทธิเฉลี่ย ร้อยละ 27.39 อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์กรณีเช่าบ่อกุ้งเฉลี่ยร้อยละ 193.49 อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์กรณีเจ้าของที่ดินเฉลี่ยร้อยละ 61.10 และสำหรับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำนั้น ใน 1 รอบการเลี้ยงกุ้ง เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตต่อไร่เฉลี่ย 301,599.91 บาท ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อไร่เฉลี่ย 2,574.81 บาท ยอดขายต่อไร่เฉลี่ย 466,553.80 บาท อัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยร้อยละ 33.46 อัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยร้อยละ 32.40 อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์กรณีเช่าบ่อกุ้งเฉลี่ยร้อยละ 254.84 อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์กรณีเจ้าของที่ดินเฉลี่ยร้อยละ 95.04 และผลการวิเคราะห์ Wilcoxon signed-rank test พบว่า ยอดขายต่อไร่ ต้นทุนการผลิตต่อไร่ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อไร่ อัตรากำไรขั้นต้น อัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ (ROA) ทั้งกรณีเช่าบ่อกุ้ง และกรณีเจ้าของที่ดินเปรียบเทียบกันระหว่างการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมและการเลี้ยงกุ้งกุลาดำไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำ คือ ปัญหาเรื่องโรคระบาดเนื่องจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ปัญหาคุณภาพน้ำ ปัญหาพันธุ์ลูกกุ้งไม่มีคุณภาพ ปัญหาอาหารกุ้งมีราคาสูง และปัญหาราคาผลผลิตไม่แน่นอน
343 2813 - Publicationความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดจากผลประกอบการกับผลตอบแทนกำไร (ขาดทุน) ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปี พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2562การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดจากผลประกอบการกับผลตอบแทนกำไร (ขาดทุน) ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปี พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2562 นี้ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิอันประกอบด้วย งบการเงินประจำปีและงบกระแสเงินสดรายปี ในช่วงปี พ.ศ. 2553 – พ.ศ. 2562 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จำนวน 16 บริษัท ซึ่งมีการรายงานงบการเงินต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี โดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานด้วยเครื่องมือทางเศรษฐมิติสมการถดถอยแบบพหุคูณในการทดสอบสมมติฐานหาความสัมพันธ์ดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่ากระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Cash Flows of Operating Activities: CFO) มีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับผลกำไรจากการประกอบการ (Operating Profit) และจากการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า การเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Cash Flows of Operating Activities: CFO) และกระแสเงินสดสุทธิ (Net Cash Flow: NCF) ส่งผลต่อกำไรจากการดำเนินงานที่แท้จริง (Earning Before Interest Tax Depreciation and Amortization: EBITDA) ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
478 1841 - Publicationความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ของบริษัทหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ของบริษัทหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทหมวดอาหารและเครื่องดื่มรายไตรมาสตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2561 เป็นเวลา 12 ไตรมาส 37 บริษัท ทำให้มีจำนวนตัวอย่างที่มาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 434 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยอย่างง่าย (Simple Linear Regression) จากผลการศึกษาแบบ จำลอง ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ พบว่า อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อสินทรัพย์รวม (ROA) มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันกับอัตราผลตอบแทนส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพราะเมื่อกิจการมีความสามารถบริหารงานหรือใช้สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดกำไรสูง บริษัทก็จะจ่ายเงินปันผลดี มูลค่าบริษัทสูงขึ้น ทำให้ราคาหลักทรัพย์สูงขึ้นส่วนอัตราส่วนกำไรสุทธิของส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราส่วนกำไรต่อยอดขาย (NPM) และอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย (OIM) ไม่มีความสัมพันธ์กันกับอัตราผลตอบแทนส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 กล่าวคือ อัตราส่วนกำไรสุทธิของส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราส่วนกำไรต่อยอดขาย (NPM) และอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย (OIM) ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมายังพบว่า มีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นลงเช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ สถานการณ์การเมือง นโยบายของรัฐบาล อัตราเงินเฟ้อ การแข่งขันในอุตสาหกรรม และอีกหลายๆ ปัจจัยที่ส่งต่อผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์
345 1198 - Publicationความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ระหว่างบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร โดยเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร จำนวน 8 บริษัท กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 28 บริษัท และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จำนวน 2 บริษัท รวม 38 บริษัท ในช่วงไตรมาศที่ 1 พ.ศ.2557 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2562 รวมทั้งสิ้น 912 ตัวอย่าง ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) วิเคราะห์สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ จากการศึกษาพบว่า มีอัตราส่วนทางการเงินจำนวน 8 อัตราส่วน ได้แก่ อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราความสามารถในการชำระดอกเบี้ย อัตรากำไรขั้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นมีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญจากนั้นเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยการใส่ตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) ทำการวิเคราะห์โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า ที่อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ อัตราความสามารถในการช าระดอกเบี้ย อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ในขณะที่ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตรากำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการศึกษากับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยการแทนค่าตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) พบว่าความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ตลาดหลักทรัพย์ไม่มีความแตกต่างกัน
1325 24445 - Publicationต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนปลูกพริกไทยแบบอินทรีย์เพื่อการค้าในจังหวัดจันทบุรีการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกพริกไทยแบบอินทรีย์เพื่อการค้า โดยใช้อัตราส่วนทางการเงินในการวัดผล ประกอบด้วย อัตรากำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้คือเกษตรกรในพื้นที่อำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ อำเภอแก่งหางแมว อำเภอเขาคิชฌกูฏ และอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการปลูกพริกไทยตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป โดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 ราย ซึ่งผู้ศึกษาใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยของปี 2558 ถึงปี 2562 เท่ากับ 144,194.87 บาท 146,062.32 บาท 144,624.73 บาท 141,727.19 บาท และ 126,569.40 บาท ตามลำดับ มีผลตอบแทนเฉลี่ยของปี 2558 ถึงปี 2562 เท่ากับ 608,386.00 บาท 571,283.00 บาท 541,662.00 บาท 215,800.50 บาท และ 193,610.00 บาท ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน พบว่า อัตราส่วนกำไรขั้นต้นปี 2558 ถึงปี 2562 เท่ากับ 76.30% 74.43% 73.30% 34.32% และ 34.63% ตามลำดับ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมปี 2558 ถึงปี 2562 เท่ากับ 58.24% 54.14% 51.43% 9.81% และ 9.08% ตามลำดับ อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนปี 2558 ถึงปี 2562 เท่ากับ 380.51% 330.60% 310.45% 59.21% และ 60.65% ตามลำดับ สำหรับต้นทุนการผลิตค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดในกระบวนการผลิต และราคาขายผลผลิตที่ลดลงมีสาระสำคัญต่อผลตอบแทนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของอัตราส่วนทางการเงินจากการคำนวณหาผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์ มีผลตอบแทนสูงสุดในปี 2558 ทั้ง 3 อัตราส่วน ซึ่งเป็นผลมาจากราคาขายผลผลิตที่สูงสุดในปีดังกล่าว
335 9519