Browsing by Subject "ธนาคารและการธนาคาร -- การอัตโนมัติ"
Now showing 1 - 5 of 5
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการยอมรับการใช้บริการ Mobile Banking ในกลุ่มลูกค้าเกษตรกรผู้สูงอายุ บริบทธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; ; การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้งาน Mobile Banking ในกลุ่มลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในเขตกรุงเทพมหานคร เฉพาะปีบัญชี 2564 จำแนกตามปัจจัยแรงจูงใจในการใช้งาน ปัจจัยการเข้าถึงและการใช้งาน และปัจจัยความพึงพอใจในการใช้บริการ Mobile Banking โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างแบบจำลองการเรียนรู้แบบมีผู้สอน (Supervised Learning) วิเคราะห์ผ่านโปรแกรม Weka (Waikato Environment for Knowledge Analysis) เพื่อกลุ่มข้อมูลหาความสัมพันธ์จากการทำนายผลของผู้ที่ใช้งาน Mobile Banking เพื่อหาความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้งาน Mobile Banking ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยในการยอมรับการใช้บริการ มีระดับการยอมรับการใช้งานในด้านการประหยัดเวลาในการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องไปที่สาขาของธนาคารอยู่ในระดับมาก การเข้าถึงและการใช้งานในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด มีการเข้าถึงและการใช้งานฟังก์ชั่นในการโอนเงินจากบัญชี ธ.ก.ส. ไปยังธนาคารอื่นอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ในด้านขั้นตอนการใช้งานในการทำธุรกรรมง่ายต่อการใช้งานอยู่ในระดับมาก โดยในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ที่มีการใช้งาน Mobile Banking พบว่า มีระดับการยอมรับการใช้งานในด้านการประหยัดเวลาในการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องไปที่สาขาของธนาคาร อยู่ในระดับมากที่สุด มีการเข้าถึงและการใช้งานในการโอนเงินจากบัญชี ธ.ก.ส. ไปยังธนาคารอื่นอยู่ในระดับมากที่สุด และส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ในด้านขั้นตอนการใช้งานในการทำธุรกรรมง่ายต่อการใช้งานอยู่ในระดับมาก และกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป พบว่ามีระดับการยอมรับการใช้งานในด้านการประหยัดเวลาในการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องไปที่สาขาของธนาคารอยู่ในระดับมากที่สุด มีการเข้าถึงและการใช้งานเพื่อตรวจสอบยอดเงินเคลื่อนไหวในบัญชี ธ.ก.ส. อยู่ในระดับมากที่สุด และส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ ธ.ก.ส. A-Mobile ในด้านขั้นตอนการใช้งานในการทำธุรกรรมง่ายต่อการใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อเสนอแนะจากงานการศึกษานี้คือ ธนาคารควรพัฒนา ปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุดตามปัจจัยที่ได้วิเคราะห์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อที่จะสามารถดึงดูดกลุ่มลูกค้าให้มาใช้บริการ ธ.ก.ส. A-Mobile และสามารถดึงลูกค้าใหม่ใช้บริการผลิตภัณฑ์กับทางธนาคารมากที่สุด88 407 - Publicationการศึกษาปัญหาแนวทางแก้ไขและการกําหนดกลยุทธ์สําหรับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(University of the Thai Chamber of Commerce, 2020)
; ; ; ; การศึกษาปัญหา แนวทางแก้ไข และการกําหนดกลยุทธ์สําหรับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการใช้งานที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้งานผลิตภัณฑ์ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 4) เพื่อการกําหนดกลยุทธ์สําหรับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มลูกค้าผู้ใช้บริการธนาคารออมสินและเป็นผู้ที่ใช้งาน Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสิน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จํานวน 384 ราย โดยใช้สูตรคํานวณของเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple Random Samplings) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) การวิเคราะห์โดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) โดยใช้การวิเคราะห์ค่าที (T-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (OneWay ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรีมีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/ลูกจ้าง รายได้ต่อเดือน 15,001-25,000 บาท ระยะเวลาที่เป็นลูกค้าธนาคารออมสินและระยะเวลาการใช้งาน Application MyMo อยู่ในช่วง 1-3 ปีลูกค้ารู้จักบริการ Application MyMo ด้วยตัวเอง ใช้บริการ Application MyMo ช่วงเวลา 12.00-17.59 น. ส่วนใหญ่ใช้บริการโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารอื่นๆ ใน Application MyMo และมีสาเหตุที่ใช้บริการ Application MyMo เนื่องจากสะดวกในการทําธุรกรรมการเงิน ผลการวิเคราะห์ในด้านการยอมรับเทคโนโลยีพบว่า ภาพรวมของการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การใช้งานของลูกค้าในเรื่อง Application MyMo ช่วยให้การทําธุรกรรมทางการเงินง่ายขึ้น และสามารถทําความเข้าใจ เรียนรู้การใช้งาน Application MyMo ได้ด้วยตัวท่านเอง อยู่ในระดับมากที่สุด ในส่วนของการรับรู้ประโยชน์โดยภาพรวม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประโยชน์ของ Application MyMo ในการทําธุรกรรมทางการเงินผ่าน Application MyMo มีประโยชน์มาก และช่วยลดเวลาในการเดินทางไปทําธุรกรรมทางการเงินที่ธนาคาร อยู่ในระดับมากที่สุด แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธนาคารออมสิน จากการศึกษาและวิเคราะห์ตามกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธนาคารออมสิน โดยใช้เครื่องมือ TOWS Matrix ในการวิเคราะห์สามารถสรุปการกําหนดกลยุทธ์ได้ดังนี้ 1) กลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product development strategy) มุ่งเน้นความเป็นผู้นําด้านนวัตกรรมใหม่ๆ พัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งขัน และเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันระยะยาว เช่น ผลิตภัณฑ์ MyMo, สลากดิจิทัล, MyMo MyCard 2) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างทางการแข่งขัน (Competitive Differentiation) การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการให้มีความรวดเร็วและทันสมัย เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวก พึงพอใจต่อการใช้บริการ และลดการร้องเรียนจากลูกค้า153 1197 - Publicationการศึกษาพฤติกรรมในการใช้เครื่องบริการ Electronic ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาเดอะมอลล์บางแค(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ ปัญหามาจากการที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีแผนการพัฒนายุทธศาสตร์การดำเนินงานในรูปแบบดิจิทัลแบงค์กิ้ง ซึ่งมีการเปลี่ยนปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาระบบการให้บริการกับผู้ใช้บริการในรูปแบบดิจิทัลซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกและปลอดภัยในการทำธุรกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นธนาคารผู้ให้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยชั้นนำระดับประเทศโดยจึงทำให้หนึ่งในธุรกรรมที่เป็นธุรกรรมที่สำคัญของธนาคารอาคารสงเคราะห์คือการบริการรับชำระหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้ใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัย ทางธนาคารจึงจัดช่องทางการรับชำระหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยโดยใช้เครื่องบริการชำระเงินกู้อิเล็กทรอนิกส์ (LRM: Loan Repayment Machine) ให้บริการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์สาขาเดอะมอลล์บางแค เป็นหนึ่งในสาขาของธนาคารที่มีการจัดเครื่องบริการชำระเงินกู้อิเล็กทรอนิกส์ให้บริการ แต่ปัจจุบันพบปัญหาการที่ผู้ใช้บริการบางส่วนยังขาดความเชื่อมั่นในการใช้บริการเครื่องบริการชำระเงินกู้อิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์สาขาเดอะมอลล์บางแค เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ธนาคารจำเป็นต้องหาสาเหตุจากพฤติกรรมของลูกค้าทั้งในกรณีของผู้ใช้บริการและไม่ใช้บริการเครื่องบริการชำระเงินกู้อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อที่จะได้ทราบสาเหตุปัจจัยในการไม่ใช้เครื่องบริการชำระเงินกู้อิเล็กทรอนิกส์ และทราบถึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการเพื่อสามารถแก้ไขสาเหตุของผู้ไม่ใช้บริการเครื่องบริการชำระเงินกู้อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 ตัวอย่างของทั้งผู้ใช้บริการและไม่ใช้บริการเครื่องบริการชำระเงินกู้อิเล็กทรอนิกส์ พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่ใช้บริการของผู้ไม่ใช้บริการเครื่องบริการชำระเงินกู้อิเล็กทรอนิกส์นั้นเกิดจากการไม่เชื่อมั่นความปลอดภัยในการใช้บริการเครื่องบริการชำระเงินกู้อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการหาแนวทางแก้ไขนั้นเป็นการนำเอาผลจากความพึงใจของผู้ใช้บริการมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา โดยแบ่งออกเป็น 2 ทางเลือกคือ 1. แนวทางเชิงรุก (เข้าหาประชาสัมพันธ์ให้ความรู้สร้างความเชื่อมั่นแก่กลุ่มเป้าหมาย) เป็นการเข้าหากลุ่มลูกค้าบริเวณใกล้เคียงธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาเดอะมอลล์บางแค ผ่านทางบริษัท ห้างร้านเอกชน หน่วยงานราชการ เพื่อประชาสัมพันธ์การใช้บริการรวมถึงสิทธิประโยชน์พิเศษเพื่อสร้างแรงจูงใจในการใช้บริการและจัดให้มีการให้ความรู้นอกสถานที่ให้ความรู้แก่ลูกค้าได้ทราบถึงประโยชน์และสร้างความเชื่อมั่นในการใช้บริการเครื่องบริการชำระเงินกู้อิเล็กทรอนิกส์ 2. แนวทางเชิงรับ (จัดพนักงานนำเสนอสร้างแรงจูงใจเพิ่มสร้างความเชื่อมั่น) เป็นการจัดพนักงานให้คำแนะนำให้การช่วยเหลือการใช้งานให้แก่ผู้ที่ไม่เคยใช้บริการเพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจในการใช้บริการและจัดกิจกรรมให้สิทธิพิเศษสำหรับผู้ใช้บริการเครื่องบริการชำระเงินกู้อิเล็กทรอนิกส์ เฉพาะสาขาเดอะมอลล์บางแค ในการลุ้นรับรางวัลเพื่อเพิ่มความสนใจและแรงจูงใจในการใช้บริการ54 365 - Publicationแนวทางการเพิ่มจํานวนลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสาเหตุที่ทําให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีส่วนแบ่งการตลาดของผู้ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL ในอัตราที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับจํานวนผู้ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชันทางการเงินทั้งหมดในประเทศไทย และนําเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อเพิ่มผู้ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL ในจังหวัดขอนแก่น ใช้วิธีการศึกษาแบบผสม ด้วยการเก็บแบบสอบถาม จํานวน 400 ราย และการสัมภาษณ์เชิงลึก จํานวน 8 ราย โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ผลการศึกษา พบสาเหตุของปัญหา คือ ด้านผลิตภัณฑ์โมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL มีรูปแบบการทําธุรกรรมที่ไม่หลากหลายและครอบคลุมเพียงพอ การใช้งานยังมีความซับซ้อน เมื่อเข้าสู่แอปพลิเคชันแล้วต้องใช้ความพยายามที่จะเข้าใจสัญลักษณ์ต่าง ๆ จึงจะใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว รูปแบบภายในของแอปพลิเคชัน GHB ALL ดูไม่ทันสมัย ประกอบกับคนเจนวายส่วนใหญ่มีความภักดีต่อตราสินค้าค่อนข้างสูง ไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้แอปพลิเคชันของธนาคารอื่นได้ทันทีหากไม่มีเหตุจําเป็นให้ต้องเปลี่ยนแปลง เมื่อวิเคราะห์แล้วพบแนวทางในการแก้ไขป้ญหา คือ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์และพัฒนาแอปพลิเคชัน GHB ALL เพิ่มฟังก์ชันการใช้งานที่ลูกค้า ธอส. คาดหวัง ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโมบายแอปพลิเคชัน GHB ALL สามารถขยายลูกค้าเป้าหมายไปยังกลุ่มอื่น ๆ ได้ นอกเหนือจากลูกค้าสินเชื่อบ้านของธนาคาร และตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ให้ธนาคารเติบโตได้อย่างมั่นคงในยุคดิจิทัล46 393 - Publicationแนวทางการแก้ปัญหาการใช้บริการ Mobile Banking ของลูกค้าของธนาคารทีเอ็มบีธนชาต(University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งของลูกค้าของธนาคารทีเอ็มบีธนชาต ที่พบปัญหาในการใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งในการทำธุรกรรม ซึ่งอาจส่งผลให้ลูกค้าเปลี่ยนไปใช้บริการกับคู่แข่งซึ่งมีอยู่มากมายทำให้จำนวนฐานลูกค้าที่ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้ง ของธนาคารลดลง และส่งผลกระทบต่อการดำเนินการและรายได้ของธนาคารในระยะยาว วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาการให้บริการที่สอดรับกับรูปแบบการดำเนินชีวิตและการพฤติกรรม การทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าในปัจจบุันที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการใช้ดิจิทัลเป็นศูนย์กลาง และกลยุทธ์ด้านดิจิทัลแบงก์กิ้ง เพื่อให้ลูกค้าผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้ง ของธนาคารได้รับความพีงพอใจและความสะดวกสบายในการใช้บริการอย่างสูงสุด จากการศึกษากลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้ง ด้วยเหตุผลด้านความสะดวกสบาย และความมั่นใจในระบบความปลอดภัย โดยเป็นการใช้บริการเพื่อการทำธุรกรรมบริการบัญชีเงินฝาก และการโอน เติม จ่าย ถอนเงิน ส่วนใหญ่พบปัญหาใช้งานได้แต่ใช้งานยาก และจะเลือกวิธีการจัดการปัญหาที่พบโดยการหาข้อมูลวิธีการแก้ไขในอินเตอร์เน็ต และโซเชียลมีเดียต่าง ๆ โดยกลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงเมนูการใช้งานให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น การปรับปรุงรูปลักษณ์และสีสันให้ทันสมัย และการลดโฆษณาข่าวสาร โปรโมชั่นในแอพพลิเคชั่น จากการศึกษา ได้สร้างแนวทางแก้ไขเป็น 4 ทางเลือก คือ 1.การปรับปรุงการทำงานของระบบ 2.การปรับปรุงสำหรับช่วงที่มีการทำธุรกรรม (traffic) มากกว่าปกติ 3.การพัฒนาเมนูการใช้งานโมบายแบงก์กิ้งให้เป็นมิตร (User-friendly) กับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น และ 4.การพัฒนาการสื่อสารด้านการใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง และได้พิจารณาเลือกแนวทางที่ดีที่สุด คือ แนวทางเลือกที่ 1 การปรับปรุงการทำงานของระบบ โดยปฏิบัติตามแผนการเผ้าดูระบบและนำผลจากการเฝ้าดูระบบมาปรับปรุง รวมถึงเพิ่มรายการตรวจสอบระบบ ทบทวนและปรับปรุงแผนและรายการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง แนวทางเลือกที่ 3 การพัฒนาเมนูการใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง ให้เป็นมิตรกับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น โดยทำการประเมินผลความพึงพอใจกับกลุ่มตัวอย่างก่อนนำออกใช้งานจริง และแนวทางเลือกที่ 4 การ พัฒนาการสื่อสารด้านการใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง โดยทบทวนเนื้อหา วิธีการและช่องทางในการสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์ เน้นให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ง่าย มีการสำรวจประสิทธิภาพของการสื่อสารและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ตลอดจนนำข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการมาพิจารณาเพื่อพัฒนาการให้บริการโมบายแบงก์กิ้งของธนาคารให้ดียิ่งขึ้น113 371