logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Subject

Browsing by Subject "ที่อยู่อาศัย -- การจัดซื้อ"

Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมของกลุ่มผู้ซื้อเพื่อพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    ธรรมปภัสสร์ เกษมทะเล.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการตลาด.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมของกลุ่มผู้ซื้อ เพื่อพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมของกลุ่มผู้ซื้อเพื่อพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยในการเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมของกลุ่มผู้ซื้อเพื่อพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีความสนใจซื้อคอนโดมิเนียมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้สนใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมในเขต กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครสรุปได้ว่าส่วนใหญ่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลักในชีวิตประจำวัน โดยสนใจคอนโดมีเนียมรูปแบบ 1 ห้องนอน ขนาดพื้นที่ระหว่าง 31 - 35 ตารางเมตร และมีงบประมาณในการซื้อคอนโดมีเนียม 1,000,001 - 2,000,000 บาท เน้นการตัดสินใจจากตนเองเป็นหลัก โดยมีการหาข้อมูลต่างๆ ผ่านทางช่องทางอินเตอร์เน็ต/เว็บไซต์ เนื่องจาก ต้องการความสะดวกในการเปรียบเทียบข้อมูลของโครงการต่างๆ โดยช่องทางออนไลน์ที่เลือกใช้ คือ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความเห็นต่อปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ 1) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 2) ด้านการบริการ 3) ด้านราคา 4) ด้านผลิตภัณฑ์ 5) ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ 6) ด้านบุคลากร และ 7) ด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับผลจากการสัมภาษณ์ โดยพบว่า ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (ทำเลและที่ตั้ง) เป็นอันดับแรก และปัจจัยรองลงมา คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ เช่นเดียวกันทั้ง 3 ท่าน โดยมีผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านให้ความสำคัญ ในปัจจัยด้านองค์ประกอบทางกายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบของตัวอาคาร
      103  616
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ปี 2563
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2020)
    บุษกร หวังดี
    วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียม และเพื่อค้นหาและศึกษาความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) กลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร อายุ18 ปี ขึ้นไป ที่เคยซื้อ หรือต้องการซื้อ หรือมีความสนใจจะซื้อคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 77% อายุช่วง 20-30 ปี คิดเป็น 95% สถานภาพโสด มีระดับการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท จากการทดสอบข้อมูลด้านประชากรศาสตร์เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ อาชีพ ที่มีความแตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจการเลือกซื้อคอนโดมิเนียม และกลุ่มลูกค้าเองให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดเกือบทุกตัว ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาด บุคคลากร ลักษณะทางกายภาพ กระบวนการ ซึ่งจากการทดสอบความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่กับความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครพบว่ามีเพียง 3 ปัจจัยเท่านั้น คือ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการส่งเสริมทางการตลาด และปัจจัยด้านบุคลากรที่ พื้นที่ลูกค้าให้ความสนใจเป็นแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวและสายสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นแหล่งที่เดินทางสะดวกและเป็นแหล่งพาณิชยกรรม อาทิเช่น แบริ่ง รัชดา พระราม 9 สายไหม และลุมพินี
      318  4089
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS