logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Subject

Browsing by Subject "ทัศนคติ"

Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    การจำแนกความแตกต่างทางด้านทัศนคติต่ออาชีพผู้ช่วยการพยาบาลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่หกที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองกับนอกเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ = Classification attitude toward nursing assistant profession between high school grade 12 in capital district and other districts, Burirum
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2015)
    วินุตตา ดาววัฒนะทรัพย์
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการจัดการ.
    การจำแนกความแตกต่างทางด้านทัศนคติต่ออาชีพผู้ช่วยการพยาบาลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่หกที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองกับนอกเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาทัศนคติต่ออาชีพผู้ช่วยการพยาบาลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่หกที่อาศัยอยู่ภายในอำเภอเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ 2. เพื่อศึกษาทัศนคติต่ออาชีพผู้ช่วยการพยาบาลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่หกที่อาศัยอยู่ภายนอกเขตอำเภอเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ 3. เพื่อค้นหาทัศนคติต่ออาชีพผู้ช่วยการพยาบาลที่สามารถใช้ในการจำแนกกลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่หกที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่หกที่อาศัยอยู่นอกเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ผลจากการวิจัยในภาพรวมพบว่า ทัศนคติต่ออาชีพผู้ช่วยการพยาบาลนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่หกในเขตพื้นที่อำเภอเมืองต่างจากนักเรียนนอกเขตพื้นที่อำเภอเมือง พบว่า ข้อคำถามที่ทำให้กลุ่มอำเภอเมืองแตกต่างจากกลุ่มนอกอำเภอเมือง มี 5 ข้อคำถามที่ทำให้สองกลุ่มแตกต่างกัน ได้แก่ การให้ความเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้ป่วย ผู้ช่วยการพยาบาลเป็นอาชีพที่มีรายได้ดี ผู้ช่วยการพยาบาลควรมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน ต่อให้เลือกอาชีพอื่นได้ก็ยังคงทำงานผู้ช่วยการพยาบาล และผู้ช่วยการพยาบาลทำให้เป็นคนมีเมตตากรุณา ซึ่งกลุ่มนอกอำเภอมีค่าเฉลี่ยของกลุ่มดีกว่ากลุ่มในอำเภอเมือง
      42  459
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ทัศนคติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครต่อแบรนด์ที่ใช้บุคคลมีรอยสักในสื่อโฆษณา
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    ณฐภัทร เชียงชัย
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่ส่งผลต่อทัศนคติต่อแบรนด์ที่ใช้บุคคลมีรอยสักในสื่อโฆษณา 2) เพื่อศึกษาทัศนคคติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อแบรนด์ที่ใช้บุคคลมีรอยสักในสื่อโฆษณา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research ) ใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 คน และสัมภาษณ์นักวิชาการ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย จำนวน 5 คน และบล็อกเกอร์ (Blogger) ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด จำนวน 1 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านประชากรศาสตร์ เพศต่างกันส่งผลต่อทัศนคติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครต่อแบรนด์ที่ใช้บุคคลมีรอยสักในสื่อโฆษณาต่างกัน ความแตกต่างด้านอื่นๆ ไม่ส่งผลต่อทัศนคติของผู้บริโภค 2) ทัศนคติทั้ง 3 ด้านได้แก่ ทัศนคติด้านความรู้สึกพบว่า การใช้บุคคลมีรอยสักในสื่อโฆษณาสามารถกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้ อยากลองใช้แบรนด์สินค้าและบริการมากที่สุด ทัศนคติด้านความรู้ความเข้าใจพบว่า การใช้บุคคลมีรอยสักในสื่อโฆษณาสามารถสร้างความเข้าใจเรื่องการเปิดกว้างทางความคิด ความเป็นสากลของแบรนด์มากที่สุด ทัศนคติด้านพฤติกรรมพบว่า การใช้บุคคลมีรอยสักในสื่อโฆษณาสามารถสร้างความภักดีในแบรนด์และการซื้อซ้ำได้มากที่สุด นอกจากนั้นผลการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าความรู้สึกส่วนใหญ่มักมองข้ามเรื่องรอยสัก ซึ่งถือว่าเป็นความชอบส่วนบุคคล รอยสักของบุคคลในสื่อโฆษณามีผลในเชิงความรู้สึกที่ผู้บริโภคมีต่อแบรนด์ สามารถสร้างจุดสนใจให้กับแบรนด์สินค้าและบริการ และช่วยให้เกิดการตัดสินใจซื้อด้วยรอยสักของบุคคลในสื่อโฆษณายังกระตุ้นให้เกิดความต้องการสัก เลียนแบบบุคคลในสื่อโฆษณาอีกด้วยและผลการสัมภาษณ์นักวิชาการ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยและบล็อกเกอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดเพิ่มเติม พบว่า การนำบุคคลที่มีรอยสักมาใช้ในสื่อโฆษณาจะส่งผลต่อแบรนด์ตามวัตถุประสงค์ของแบรนด์ สินค้าบางชนิดอาจต้องอาศัยคนมีรอยสักเป็นตัวช่วยทำให้ผู้บริโภคมีความเข้าใจเกี่ยวกับเจตนาของสื่อโฆษณามากขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจในตัวสินค้าและบริการให้ชัดเจนตามความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเนื้อหาของสื่อโฆษณา บุคคลในสื่อโฆษณากับแบรนด์ เนื่องจากรอยสักไม่ต่างจากเครื่องประดับ เสื้อผ้า ของบุคคลในสื่อโฆษณา
      84  435
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS