Browsing by Subject "ต้นทุนการผลิต"
Now showing 1 - 4 of 4
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการวิเคราะห์ต้นทุนและจุดคุ้มทุน – ผลิตภัณฑ์คำแสด เนเชอรัล โปรดักส์ และคู่มือการใช้กรณีศึกษา : กรณีศึกษา(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), [2567?])
; ; 38 - Publicationการวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนเลี้ยงกุ้งระหว่างกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำการศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนเลี้ยงกุ้งระหว่างกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร จำนวน 10 ราย ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งแต่ละราย ที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างนั้น จะเป็นบุคคลเดียวกัน ผู้วิจัยจะสัมภาษณ์ทั้งในด้านการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมนั้น ใน 1 รอบการเลี้ยงกุ้ง เกษตรกรมีต้นทุนการ ผลิตต่อไร่เฉลี่ย 246,212.90 บาท ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อไร่เฉลี่ย 2,955.25 บาท ยอดขายต่อไร่เฉลี่ย 358,017.27 บาท อัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยร้อยละ 28.76 อัตรากำไรสุทธิเฉลี่ย ร้อยละ 27.39 อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์กรณีเช่าบ่อกุ้งเฉลี่ยร้อยละ 193.49 อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์กรณีเจ้าของที่ดินเฉลี่ยร้อยละ 61.10 และสำหรับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำนั้น ใน 1 รอบการเลี้ยงกุ้ง เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตต่อไร่เฉลี่ย 301,599.91 บาท ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อไร่เฉลี่ย 2,574.81 บาท ยอดขายต่อไร่เฉลี่ย 466,553.80 บาท อัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยร้อยละ 33.46 อัตรากำไรสุทธิเฉลี่ยร้อยละ 32.40 อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์กรณีเช่าบ่อกุ้งเฉลี่ยร้อยละ 254.84 อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์กรณีเจ้าของที่ดินเฉลี่ยร้อยละ 95.04 และผลการวิเคราะห์ Wilcoxon signed-rank test พบว่า ยอดขายต่อไร่ ต้นทุนการผลิตต่อไร่ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อไร่ อัตรากำไรขั้นต้น อัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ (ROA) ทั้งกรณีเช่าบ่อกุ้ง และกรณีเจ้าของที่ดินเปรียบเทียบกันระหว่างการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมและการเลี้ยงกุ้งกุลาดำไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมและกุ้งกุลาดำ คือ ปัญหาเรื่องโรคระบาดเนื่องจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ปัญหาคุณภาพน้ำ ปัญหาพันธุ์ลูกกุ้งไม่มีคุณภาพ ปัญหาอาหารกุ้งมีราคาสูง และปัญหาราคาผลผลิตไม่แน่นอน
343 2813 - Publicationการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตอ้อยโรงงานของเกษตรกรรายย่อยในเขตพื้นที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานีการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตและวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตอ้อยเข้าสู่โรงงานของชาวไร่อ้อยรายย่อยเขตพื้นที่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ผู้ศึกษารวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการสัมภาษณ์เกษตรกรชาวไร่อ้อยรายย่อยที่มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยไม่เกิน 30 ไร่ โดยสัมภาษณ์เกี่ยวกับสภาพการผลิตโดยทั่วไป ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนที่เกิดขึ้นปี 2561 และปี 2562 โดยผู้ศึกษาได้นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน ผลการศึกษา พบว่ารายได้จากการขายผลผลิตของเกษตรผู้ปลูกอ้อยในปี 2561 มีรายได้รวมเฉลี่ย 6,920.15 บาทต่อไร่ และปี 2562 มีรายได้รวมเฉลี่ย 7,414.45 บาทต่อไร่ ปี 2561 มีต้นทุนการผลิตอ้อยรวมเฉลี่ย 5,193.27 บาทต่อไร่ โดยแบ่งเป็นต้นทุนวัตถุดิบ รวมเฉลี่ย 2,012.17 บาทต่อไร่ ต้นทุนแรงงานการเพาะปลูก รวมเฉลี่ยต่อปี 700.68 บาทต่อไร่ ต้นทุนค่าแรงจากการเก็บเกี่ยว รวมเฉลี่ย 1,984.79 บาทต่อไร่ มีค่าใช้จ่ายในการผลิตอื่นๆ รวมเฉลี่ย 495.63 บาทต่อไร่ และมีค่าขนส่งอ้อยเข้าโรงงาน เฉลี่ยรวม 988.59 บาทต่อไร่ ปี2562 มีต้นทุนการผลิตอ้อย รวมเฉลี่ย 5,196.69 บาทต่อไร่ โดยแบ่งเป็นต้นทุนวัตถุดิบ รวมเฉลี่ย 2,012.17 บาทต่อไร่ ต้นทุนแรงงานการเพาะปลูก รวมเฉลี่ยต่อปี 700.68 บาทต่อไร่ ต้นทุนค่าแรงจากการเก็บเกี่ยว รวมเฉลี่ย 1,984.79 บาทต่อไร่ มีค่าใช้จ่ายในการผลิตอื่นๆ รวมเฉลี่ย 499.05 บาทต่อไร่ และมีค่าขนส่งอ้อยเข้าโรงงาน เฉลี่ยรวม 988.59 บาทต่อไร่ การวิเคราะห์กำไร(ขาดทุน) จากการปลูกอ้อยปี 2561 พบว่ามีกำไรสุทธิรวมเฉลี่ย 738.29 บาทต่อไร่ และปี 2562 มีกำไรสุทธิ รวมเฉลี่ย 1,229.17 บาทต่อไร่ การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโดยใช้อัตราส่วนทางการเงินของ ปี 2561 พบว่ามีอัตราส่วนกำไรขั้นต้น เฉลี่ยเท่ากับ 25% มีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานเฉลี่ยเท่ากับ 11% อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมเฉลี่ยเท่ากับ 1% อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนเฉลี่ยเท่ากับ 15% และปี 2562 พบว่ามีอัตราส่วนกำไรขั้นต้น เฉลี่ยเท่ากับ 30% มีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงาน เฉลี่ยเท่ากับ 17% อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ รวมเฉลี่ยเท่ากับ 2% อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนเฉลี่ยเท่ากับ 26%
458 3311 - Publicationต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนปลูกพริกไทยแบบอินทรีย์เพื่อการค้าในจังหวัดจันทบุรีการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกพริกไทยแบบอินทรีย์เพื่อการค้า โดยใช้อัตราส่วนทางการเงินในการวัดผล ประกอบด้วย อัตรากำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้คือเกษตรกรในพื้นที่อำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ อำเภอแก่งหางแมว อำเภอเขาคิชฌกูฏ และอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการปลูกพริกไทยตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป โดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 ราย ซึ่งผู้ศึกษาใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยของปี 2558 ถึงปี 2562 เท่ากับ 144,194.87 บาท 146,062.32 บาท 144,624.73 บาท 141,727.19 บาท และ 126,569.40 บาท ตามลำดับ มีผลตอบแทนเฉลี่ยของปี 2558 ถึงปี 2562 เท่ากับ 608,386.00 บาท 571,283.00 บาท 541,662.00 บาท 215,800.50 บาท และ 193,610.00 บาท ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน พบว่า อัตราส่วนกำไรขั้นต้นปี 2558 ถึงปี 2562 เท่ากับ 76.30% 74.43% 73.30% 34.32% และ 34.63% ตามลำดับ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมปี 2558 ถึงปี 2562 เท่ากับ 58.24% 54.14% 51.43% 9.81% และ 9.08% ตามลำดับ อัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุนปี 2558 ถึงปี 2562 เท่ากับ 380.51% 330.60% 310.45% 59.21% และ 60.65% ตามลำดับ สำหรับต้นทุนการผลิตค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงที่สุดในกระบวนการผลิต และราคาขายผลผลิตที่ลดลงมีสาระสำคัญต่อผลตอบแทนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของอัตราส่วนทางการเงินจากการคำนวณหาผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์ มีผลตอบแทนสูงสุดในปี 2558 ทั้ง 3 อัตราส่วน ซึ่งเป็นผลมาจากราคาขายผลผลิตที่สูงสุดในปีดังกล่าว
335 9519