logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Subject

Browsing by Subject "คริปโทเคอร์เรนซี"

Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ความพึงพอใจในการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ของนักลงทุนในกรุงเทพมหานคร
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
    อนิษา ยุทธนาศาสตร์
    ;
    ;
    สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะเศรษฐศาสตร์
    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักลงทุนที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกลงทุนในตลาดคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ของนักลงทุนในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อทราบถึงลักษณะตัวอย่างด้านประชากรของนักลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ในกรุงเทพมหานคร และเพื่อทราบถึงพฤติกรรมของนักลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) ในกรุงเทพมหานคร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยวิธีทางสถิติ SPSS ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ใช้วิธีการวิเคราะห์สถิติทดสอบหาความสัมพันธ์แบบถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า นักลงทุนในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุในช่วง 20 - 29 ปีโดยส่วนใหญ่ เลือกลงทุนในแพลตฟอร์ม BitKub โดยเหตุผลที่เลือกใช้แพลตฟอร์มดังกล่าวเนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มที่สวยงาม ใช้งานง่าย และเป็นแพลตฟอร์มและเว็บเทรดที่ใหญ่ โดยสกุลเงินหลักที่นักลงทุนส่วนใหญ่เลือกลงทุนจะเป็นประเภท Bitcoin (BTC) และรองลงมาเป็น Ethereum (ETH) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อต้องการผลตอบแทนจากการลงทุน จากผลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่านักลงทุนในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลไม่เกิน 3 ปี ดังนั้น โบรกเกอร์ผู้ให้บริการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลสถาบันการเงิน หน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลทางการเงิน สามารถทำการประชาสัมพันธ์ การลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลผ่านช่องทางสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นช่องทางที่ ผู้ใช้งานหลากหลายวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงอายุ 20 –39 ปี โดยสามารถสร้างองค์ความรู้และส่งเสริมการลงทุนโดยให้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีการบอกถึงข้อดีข้อเสียของการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลภายใต้ความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจก่อนลงทุนในสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่ที่ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลมักจะกล่าวว่า หากไม่มีความรู้เพียงพอในการลงทุนก็จะมีโอกาสในการสูญเสียเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก
      125  466
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    พฤติกรรมการลงทุน และปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนในคริปโตเคอเรนซี่
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    ปฏิภาณ พาณิชเลิศ
    การศึกษาในครั้งนี้ วัตถุประสงค์ของงานวิจัย 1) เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ของคนที่ต้องการเข้ามาลงทุนใน Crypto Currency 2) เพื่อต้องการทราบ พฤติกรรมการลงทุนที่ตัดสินใจเข้ามาอยู่ในตลาดของ Crypto Currency 3) แรงจูงใจที่มีผลทาให้เข้าร่วมเข้ามาอยู่ใน ตลาดของ Crypto Currency ผู้ทาการวิจัยได้เก็บแบบสอบถามทั้งหมด 400 คน สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ทดสอบหาความแตกต่างค่าเอฟ (F-test) หรือการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance: One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจะทาการทดสอบด้วยการ เปรียบเทียบเป็นรายคู่ (Multiple Comparisons) ด้วยวิธีของ เชฟเฟ่ (Scheffe) และการวิเคราะห์ ทางสถิต ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่นั้น เป็นเพศชาย และช่วงอายุที่เข้ามาลงทุนนั้น เป็นช่วงอายุ 20-29 ปี และรายได้ที่เข้ามาลงทุนนั้น จะอยู่ที่ 15000- 30000 บาท อาชีพที่เข้ามาลงทุน เป็นพนักงานบริษัท ประสบการณ์ลงทุน น้อยกว่า1ปี ด้านแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ ไทย และแรงจูงใจในการทางานมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีนัยยะสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
      596  6403
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS