Browsing by Subject "ครัวเรือน -- ไทย -- ค่าใช้จ่าย"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการศึกษาสาเหตุการไม่จัดทำบัญชีครัวเรือนของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดตรังงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาเหตุการไม่จัดทำบัญชีครัวเรือนของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดตรัง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) ลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดตรัง จำนวน 26 ครัวเรือน ซึ่งแต่ละครัวเรือนจะถูกแบ่ง ออกเป็น 3 กลุ่ม (3S) ดังนี้ กลุ่ม S1 ได้แก่ เกษตรกรรายย่อยที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 100,000 บาท มีหนี้สินที่เป็นภาระหนัก รวมถึงผู้ที่ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 7 ครัวเรือน กลุ่ม S2 ได้แก่ เกษตรกรทั่วไปและทายาทเกษตรกร จำนวน 16 ครัวเรือน และกลุ่ม S3 ได้แก่ กลุ่มสหกรณ์และกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 3 ครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกค้าของธนาคารทั้ง 3 กลุ่มไม่จัดทำบัญชีครัวเรือน คือ 1. ลูกค้าส่วนใหญ่มีรายจ่ายมากกว่ารายรับ จึงทำให้ขาดแรงจูงใจ ขวัญและกำลังใจในการบันทึกบัญชี 2. ลูกค้าส่วนใหญ่ไม่มีเวลาในการจัดทำบัญชีครัวเรือน เนื่องจากในแต่วันมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมาก และไม่สามารถจดจำรายละเอียดการใช้จ่ายในการจัดทำบัญชีครัวเรือนได้ 3. เจ้าหน้าที่ของธนาคารไม่มีการติดตามผลการบันทึกบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่มีแรงจูงใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือนให้เกิดความสม่ำเสมอและเป็นปัจจุบัน อีกทั้งยังขาดประสบการณ์ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน นอกจากนี้ลูกค้ากลุ่ม S2 มีสาเหตุหลัก ลำดับที่ 4 คือ ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน
118 880 - Publicationปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ครัวเรือนในสถานการณ์ COVID-19 กรณีศึกษาอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรีการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ปัจจัยส่วนบุคคล 2. ผลกระทบทั้งในด้านของรายได้ ค่าใช้จ่ายและปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ และ 3. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการมีหนี้สินครัวเรือน และ 4. แนวทางการแก้ไขปัญหาการเป็นหนี้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยผู้ให้ข้อมูลในการศึกษาเป็นกลุ่มตัวอย่างในเขตอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือ Google From การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) บรรยายลักษณะข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างในรูปของ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิธีการทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square Test) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในเขตอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีสถานภาพโสด และมีจำนวนสมาชิกในครอบครัวจำนวน 3-4 คน ในส่วนของข้อมูลด้านรายได้และค่าใช้จ่าย มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เท่ากับ 10,000 – 20,000 บาท เป็นรายได้ประจำ (ค่าจ้าง/เงินเดือน) รองลงมา เป็นรายได้จากการขายหรือการให้บริการ ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน เท่ากับ 5,001-10,000 บาท เป็นการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภค รองลงมา ซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยและค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ตามลำดับ สะท้อนถึงกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีรายได้เพียงทางเดียวซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เนื่องจากค่าใช้จ่ายต่อคนมีหลายช่องทาง ภาระหนี้สินก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 กลุ่มตัวอย่างมีภาระหนี้สินมากถึง 289 คน คิดเป็นร้อยละ 75.25 ของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นหนี้ในระบบ แยกตามประเภทของแหล่งกู้ยืม คือ ธนาคารพาณิชย์ รองลงมา สหกรณ์ออมทรัพย์/สวัสดิการของหน่วยงาน โดยมีวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเพื่อการอุปโภคและบริโภคภายในครอบครัว รองลงมา ลงทุนในธุรกิจ (ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย/อาชีพเสริม) และเช่า/ซื้อยานพาหนะ ตามลำดับ ในส่วนของผลกระทบทั้งใน ด้านของรายได้และค่าใช้จ่ายในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีผลกระทบน้อย (X̅ < 3) และผลกระทบปานกลาง (X̅ > 3) โดยมีระดับความคิดเห็นของแต่ละบุคคลที่ใกล้เคียงกันหรือไม่แตกต่างกัน อาจเนื่องจากการประกอบอาชีพของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบ หรืออาจได้รับผลกระทบในช่วงแรกและมีการปรับตัวต่อสถานการณ์ดังกล่าว ภาระหนี้สินหลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 กลุ่มตัวอย่างมีการกู้ยืม จำนวน 219 คน คิดเป็นร้อยละ 54.25 ส่วนใหญ่เป็นหนี้ในระบบ แยกตามประเภทของแหล่งกู้ยืม คือ ธนาคารพาณิชย์ รองลงมา สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ธ.ออมสิน ธ.อาคารสงเคราะห์ ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น) โดยมีวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเพื่อการอุปโภคและบริโภคภายในครอบครัว รองลงมา ที่อยู่อาศัย (ที่ดิน/บ้าน) และเช่า/ซื้อยานพาหนะ ตามลำดับ ซึ่งลักษณะหรือปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 คือ 1. เพื่อการอุปโภคและบริโภคภายในครอบครัว เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ/ค่าใช้จ่ายในครอบครัว ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 2. เพื่อการศึกษาของตนเองหรือบุคคลภายในครอบครัว และ 3. เพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจหรือการประกอบอาชีพ (ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย/อาชีพเสริม) และในส่วนของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ควรได้รับการแก้ไขจากตนเองเป็นหลักโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในตัวบุคคลและตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการทางการเงิน ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือในด้านต่างๆ ซึ่งการออกนโยบายหรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เข้าถึงทุกกลุ่มคน ประชาชนควรได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียม ทั้งในด้านของการชดเชยรายได้ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศปิดสถานที่หรือกิจการต่างๆ หรือจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (เคอร์ฟิว) ในช่วงเวลา 21.00 - 04.00 น. ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกนโยบาย,มาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน เช่น ลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมหรือพักชำระหนี้ ปล่อยเงินกู้ยืมปลอดดอกเบี้ย, ดอกเบี้ยต่ำเพื่อใช้สำหรับหมุนเวียนในธุรกิจหรือร้านค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ดังกล่าว การลดภาระค่าใช้จ่าย (ค่าสาธารณูปโภค) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ควรมีการเร่งตรวจหาเชื้อเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง, กลุ่มเสี่ยงอย่างทั่วถึงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (ลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน) โดยเป็นความร่วมมือของภาครัฐกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อในวงกว้าง ป้องกันการเกิดโรคอุบัติซ้ำ จัดหาวัคซีนให้กับประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้กลับมาใช้ชีวิตปกติโดยเร็ว และเพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไป
465 2700