Browsing by Subject "กำไรต่อหุ้น"
Now showing 1 - 8 of 8
Results Per Page
Sort Options
- Publicationความสัมพันธ์ของการวางแผนภาษีและกำไรทางบัญชีที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนี SET100วัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการวางแผนภาษีและกำไรทางบัญชีที่มีผลต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนี SET100 โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงินของปี 2560 และปี 2561 มีบริษัทกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 42 บริษัท และมีตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 84 ตัวอย่าง ตัวแปรที่ใช้ใน การศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรต้น คือ การวางแผนภาษีซึ่งวัดจากอัตราภาษีที่แท้จริง (ETR) และการวางแผนภาษีซึ่งวัดจากอัตราส่วนภาษีต่อกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (TAX/CFO) กำไรทางบัญชีซึ่งวัดจากอัตรากำไรต่อหุ้น ตัวแปรตาม คือ ราคาหลักทรัพย์ และตัวแปรควบคุม คือ ขนาดของกิจการ และกลุ่มอุตสาหกรรม จากการศึกษาพบว่า กำไรทางบัญชีมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับราคาหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 หมายความว่า ถ้ากำไรทางบัญชีเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์เพิ่มสูงขึ้น แต่ถ้ากำไรทางบัญชีลดลงจะส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์ลดลง การวางแผนภาษีซึ่งวัดจากอัตราภาษีที่แท้จริง (ETR) และการวางแผนภาษี ซึ่งวัดจากอัตราส่วนภาษีต่อกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน (TAX/CFO) ไม่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ และในส่วนของตัวแปรควบคุม คือ ขนาดของกิจการมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับราคาหลักทรัพย์ อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และกลุ่มอุตสาหกรรมไม่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์
435 5909 - Publicationความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับการจัดการกำไรของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์แก่สาธารณชนเป็นครั้งแรก กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยการศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับการจัดการกำไรของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์แก่สาธารณชนเป็นครั้งแรก กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยตัวแปรด้านการกำกับดูแลกิจการ ประกอบไปด้วย ขนาดของคณะกรรมการ, สัดส่วนกรรมการอิสระ, การแยกระหว่างบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารและสัดส่วนความเป็นเจ้าของบริษัทของคณะกรรมการและผู้บริหาร ส่วนตัวแปรการจัดการกำไร ผู้ศึกษาเลือกใช้แบบจำลอง Yoon Model ในการคำนวณหาค่ารายการคงค้างที่เกิดจากดุลยพินิจของผู้บริหาร (Discretionary Accruals) ซึ่งได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินประจำปี 2558 - 2561 มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 107 บริษัท เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 55 บริษัท และบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ จำนวน 52 บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและทดสอบสมมติฐาน ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษา ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่วัดการกำกับดูแลกิจการกับการจัดการกำไรโดยใช้รายการคงค้างตามดุลยพินิจของผู้บริหาร
396 3057 - Publicationความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ของบริษัทหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ของบริษัทหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัทหมวดอาหารและเครื่องดื่มรายไตรมาสตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2559 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2561 เป็นเวลา 12 ไตรมาส 37 บริษัท ทำให้มีจำนวนตัวอย่างที่มาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 434 ตัวอย่าง และทำการวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยอย่างง่าย (Simple Linear Regression) จากผลการศึกษาแบบ จำลอง ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ พบว่า อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อสินทรัพย์รวม (ROA) มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันกับอัตราผลตอบแทนส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพราะเมื่อกิจการมีความสามารถบริหารงานหรือใช้สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดกำไรสูง บริษัทก็จะจ่ายเงินปันผลดี มูลค่าบริษัทสูงขึ้น ทำให้ราคาหลักทรัพย์สูงขึ้นส่วนอัตราส่วนกำไรสุทธิของส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราส่วนกำไรต่อยอดขาย (NPM) และอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย (OIM) ไม่มีความสัมพันธ์กันกับอัตราผลตอบแทนส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 กล่าวคือ อัตราส่วนกำไรสุทธิของส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราส่วนกำไรต่อยอดขาย (NPM) และอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย (OIM) ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราผลตอบแทนส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ เนื่องจากการศึกษาที่ผ่านมายังพบว่า มีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นลงเช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก ภาวะเศรษฐกิจในประเทศ สถานการณ์การเมือง นโยบายของรัฐบาล อัตราเงินเฟ้อ การแข่งขันในอุตสาหกรรม และอีกหลายๆ ปัจจัยที่ส่งต่อผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์
345 1198 - Publicationความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อยกับความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าขององค์กรของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) กับความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าขององค์กรของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 447 บริษัท และบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ 134 บริษัท รวมทั้งหมดสิ้น 581 บริษัท โดยวัดความสามารถในการทำกำไรด้วยผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Asset: ROA) ผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (Return on Equity: ROE) และมูลค่าขององค์กรวัดด้วย Tobin’s Q ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปรพบว่า Free Float มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับ ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Asset: ROA) และผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (Return on Equity: ROE) และหากพิจารณาผลจากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) พบว่า การกระจายตัวของการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อยมีความสัมพันธ์เชิงลบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทซึ่งวัดจากผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Asset: ROA) แต่ไม่พบผลดังกล่าว เมื่อวัดความสามารถในการทำกำไรด้วยผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ (Return on Equity: ROE) แต่เมื่อแยกกลุ่มตัวอย่างเป็นสองกลุ่ม คือ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ พบความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างการกระจายตัวของการถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ส่วนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว อีกทั้งยังไม่พบความสัมพันธ์ของร้อยละของการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย หรือ Free Float กับมูลค่าขององค์กรที่วัดโดย Tobin’s Q ของทั้งสองกลุ่มตัวอย่าง อาจชี้ให้เห็นว่าโครงสร้างการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่มีผลกระทบกับมูลค่าขององค์กร
290 1956 - Publicationคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มหุ้นยั่งยืนการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวัดระดับคุณภาพกำไรจากรายการคงค้างที่เกิดจากดุลยพินิจของผู้บริหาร (Discretionary Accruals, DA) ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มหุ้นยั่งยืนเปรียบเทียบกับบริษัทจดทะเบียนอื่น เนื่องจากปัจจุบันผู้ลงทุนระยะยาวหันมาให้ความสนใจการลงทุนแบบยั่งยืน เพราะบริษัทที่อยู่ในกลุ่มหุ้นยั่งยืนเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance หรือ ESG) การศึกษาครั้งนี้วัดคุณภาพกำไร โดยใช้รายการคงค้างที่เกิดจากดุลยพินิจของผู้บริหาร (Discretionary Accruals, DA) ตามแบบจำลอง Modified Jones กลุ่มตัวอย่างคือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยกเว้นกลุ่มธุรกิจการเงิน และบริษัทที่ข้อมูลงบการเงินไม่ครบถ้วน จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 416 บริษัท และใช้ข้อมูลงบการเงินปี 2561 โดยผู้วิจัยได้เลือกใช้วิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า รายการคงค้างที่เกิดจากดุลยพินิจของผู้บริหาร (Discretionary Accruals, DA) ของบริษัทที่ถูกคัดเลือกเป็นหุ้นยั่งยืน ไม่ได้มีความแตกต่างจากรายการคงค้างที่เกิดจากดุลยพินิจของผู้บริหาร (Discretionary Accruals, DA) ของบริษัทที่ไม่ได้รับคัดเลือกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
176 1081 - Publicationคุณภาพกําไรและเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในหมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวโน้มคุณภาพกำไรและเงินปันผล 2) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับเงินปันผล และ 3) ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพกำไรและเงินปันผลโดยจำแนกตามขนาดธุรกิจ โดยเก็บข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียนในหมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ บริษัทในหมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค จำนวน 20 บริษัท แบ่งออกเป็น 2 ขนาดธุรกิจ คือ ธุรกิจขนาดใหญ่ จำนวน 17 บริษัท และธุรกิจขนาดกลางจำนวน 3 บริษัท ศึกษาข้อมูลจากงบการเงินรายปีในระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 - 2561 รวม 6 ปี งานวิจัยนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสำหรับสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การวเิคราะห์สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียรสัน กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพกำไรและเงินปันผลโดย จำแนกตามขนาดธุรกิจด้วย t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า 1) บริษัทส่วนใหญ่มีดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานแสดงค่าผันผวนซึ่งชี้ให้เห็นถึงการทำกำไรไม่สม่ำเสมอ เมื่อศึกษาปี พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นปีล่าสุดพบว่า บริษัทส่วนใหญ่มีดัชนีกระแสเงินสด จากการดำเนินงานแสดงค่าบวก และมีค่ามากกว่า 1 ซึ่งอยู่ระหว่าง 1.031 เท่า ถึง 7.880 เท่า แสดงว่าบริษัทสามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดจากการดำเนินงานได้ในจำนวนที่สูงพอๆ กับกำไรที่หามาได้และถือว่ากำไรมีคุณภาพ 2) บริษัทส่วนใหญ่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนแสดงค่าผันผวน ชี้ให้เห็นถึงการจ่ายเงินปันผลไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของบริษัทได้เมื่อศึกษาปี พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นปีล่าสุดพบว่า อัตราเงินปันผลตอบแทนประมาณ 0.450 % ถึง 8.820 % ชี้ให้เห็นว่าถ้าอัตราส่วนนี้มีค่าสูงแสดงว่านักลงทุนจะได้รับเงินปันผลมีค่าสูง 3) คุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในหมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค มีความสัมพันธ์กับเงินปันผลในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและพบว่า 4) บริษัทจดทะเบียนในหมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคที่มีขนาดธุรกิจแตกต่างกันจะมีเงินปันผลแตกต่างกัน แต่คุณภาพกำไรไม่แตกต่างกัน
327 3707 - Publicationนโยบายการจ่ายเงินปันผลและคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษานโยบายการจ่ายเงินปันผลแนวโน้มคุณภาพกำไรและเงินปันผล และความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการจ่ายเงินปันผลกับคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินประจำปี พ.ศ. 2558-2562 มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 45 บริษัทแบ่งออกเป็น บริษัทขนาดใหญ่ 17 บริษัท บริษัทขนาดกลาง 12 บริษัท และบริษัทขนาดเล็ก 16 บริษัท การศึกษาครั้งนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเงินปันผลกับคุณภาพกำไร ส าหรับสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวเิคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าอัตราเงินปันผลตอบแทนและคุณภาพกำไรมีความสัมพันธ์ในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งความต่อเนื่องของการจ่ายเงินปันผลในระยะเวลา 5 ปีและคุณภาพกำไรไม่มีความสัมพันธ์กัน สำหรับตัวแปรควบคุมซึ่งใช้ขนาดของบริษัทพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพกำไร
168 1593 - Publicationปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยใช้ข้อมูลงบการเงินรายปีของบริษัทที่จดทะเบียนทั้งหมด 25 บริษัท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2562 โดยใช้สมการถดถอยเชิงพหุคูณเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ คือ สภาพคล่องซึ่งวัดโดยอัตราทุนหมุนเวียน ประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ซึ่งวัดโดยอัตราการหมุนของสินทรัพย์รวมความเสี่ยงในการก่อหนี้ ซึ่งวัดโดยอัตราหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและตัวแปรตาม ซึ่งตัวแปรตามวัดโดยอัตราส่วนความสามารถในการทำ ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไร คือ สภาพคล่องของธุรกิจซึ่งวัดโดย อัตราทุนหมุนเวียนมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกำไรในทิศทางตรงกันข้าม ความเสี่ยงในการก่อหนี้ ซึ่งวัดโดยอัตราหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีความสัมพันธ์กับอัตรากำไรสุทธิ อัตรากำไรจากการดำเนินงานและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมในทิศทางตรงกันข้าม ส่วนประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ซึ่งวัดโดยการหมุนของสินทรัพย์มีความสัมพันธ์กับมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทำกำไรในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติขนาดของธุรกิจมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความสามารถในการทำกำไรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อัตราการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไม่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอเมริกากับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
726 1612