Browsing by Subject "การเลือกซื้อสินค้า -- การตัดสินใจ"
Now showing 1 - 4 of 4
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการศึกษาการตัดสินใจเลือกซื้อรถจักรยานยนต์ยี่ห้อยามาฮ่าของกลุ่มคนวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
; ; ; ; การศึกษาค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกซื้อรถจักรยานยนต์ยี่ห้อยามาฮ่าของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคที่ใช้รถจักรยานยนต์ยี่ห้อยามาฮ่าของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ Independent Samples t-test, One-way ANOVA, Least Significant Difference และ Spearman rank correlation coefficient ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพ พนักงานบริษัท รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 25,000 บาท เลือกซื้อรถจักรยานยนต์ประเภทกลุ่มรถ Automatic โดยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกระบวนการขั้นตอนการตัดสินใจลือกซื้อรถจักรยานยนต์ยี่ห้อยามาฮ่าของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลโดยส่วนมาก ไม่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อรถจักรยานยนต์ยี่ห้อยามาฮ่าของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านลักษณะทางกายภาพและด้านกระบวนการมีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อรถจักรยานยนต์ยี่ห้อยามาฮ่าของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.0565 439 - Publicationปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น SHEINการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์ กับการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น SHEIN เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น SHEIN และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาด 7P’s กับการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น SHEIN โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยวิธีทางสถิติ SPSS ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และวิธี Chi-Square จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพนักเรียน/นักศึกษา รายได้ต่อเดือน 10,000 - 20,000 บาท โดยส่วนใหญ่ซื้อสินค้าจากช่องทางแอพพลิเคชั่น 1 - 2 ครั้งต่อเดือน และเฉลี่ยนค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 501 - 1,000 บาท ส่วนการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบว่า ปัจจัยด้านเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น SHEIN ที่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านอายุ สถานภาพ อาชีพ ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น SHEIN ไม่แตกต่างกัน และส่วนของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น SHEIN มี 7 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการจัด จำหน่าย ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ
449 1742 - Publicationปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (Shopee) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
; ; ; ; การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าผ่านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (Shopee) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่เลือกใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชากรในกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่เลือกใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การเลือกใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง โดยมีอายุระหว่าง 21-30 ปี มีอาชีพส่วนใหญ่ เป็นธุรกิจส่วนตัว ประชากรส่วนใหญ่ให้ระดับความสำคัญด้านปัจจัยส่วนประสมการตลาด 6p และพฤติกรรมการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของลักษณะประชากรแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (Shopee ) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร พบว่า มีตัวแปรด้านเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และระดับรายได้ต่อเดือน โดยภาพรวมไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (Shopee) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร352 1041 - Publicationปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ALL Online ห้างใกล้บ้านผ่านทาง Application 7-11 ในเขตกรุงเทพมหานคร(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
; ; ; ; การศึกษางานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ALL Online ห้างใกล้บ้าน ผ่านทาง Application 7-11 ในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ALL Online ห้างใกล้บ้าน ผ่านทาง Application 7-11 (2) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาบริการบน Application 7-11 ในการซื้อสินค้า ALL Onlineห้างใกล้บ้าน โดยงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนของประชากร ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรหรือตัวแปร 2 กลุ่ม ด้วยค่าสถิติ t-test และกรณีที่ตัวแปรอิสระมากกว่า 2 กลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ANOVA (F-test) หากพบความเเตกต่างจะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Fisher’s LSD procedure ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติการเปรียบเทียบความพึงพอใจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า พบว่า เพศแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในด้านราคาแตกต่างกัน อายุแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกัน สถานภาพที่แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในผลิตภัณฑ์และด้านราคาแตกต่างกัน ระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาดแตกต่างกัน อาชีพแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในด้านผลิตภัณฑ์และด้านราคาแตกต่างกัน รายได้แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในด้านราคาแตกต่างกัน การเปรียบเทียบความพึงพอใจการยอมรับเทคโนโลยีในการซื้อสินค้า ALL Online ห้างใกล้บ้านพบว่า เพศแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้งาน ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน ด้านการใช้งานจริง ด้านความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวและด้านความเสี่ยงด้านการเงินไม่แตกต่างกัน อายุที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยี ในด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้งาน ด้านความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวและด้านความเสี่ยง ด้านการเงินแตกต่างกัน สถานภาพที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งานและด้านความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวแตกต่างกัน ระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้งาน ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน ด้านการใช้งานจริง ด้านความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวและด้านความเสี่ยงด้านการเงิน แตกต่างกัน อาชีพแตกต่างกันมีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งานด้านความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวและด้านความเสี่ยงด้านการเงินแตกต่างกัน รายได้แตกต่างกัน มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีในด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน ด้านความเสี่ยงด้านความเป็นส่วนตัวและด้านความเสี่ยงด้านการเงินแตกต่างกัน69 495