logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Subject

Browsing by Subject "การเงินส่วนบุคคล"

Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    การศึกษาแนวทางการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล กรณีศึกษา : ข้าราชการของศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    กุลภา จันทรพา.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการเงิน.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการ ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร (2) เพื่อศึกษาสาเหตุด้านการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการ ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้าราชการศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร จำนวน 320 คน โดยใช้ แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square) ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30 ปีหรือน้อยกว่า สถานภาพ สมรส ชั้นยศ (ส.ต. – ส.อ.) ซึ่งมีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีจำนวนคนที่อยู่ในความดูแล 1 – 2 คน รายได้รวมต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท ค่าใช้จ่ายรวมต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท และมีหนี้สิน มีพฤติกรรมการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลในด้านการบริหารรายได้ โดยส่วนใหญ่ไม่มี การหารายได้เสริม มีพฤติกรรมการออมเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ในรูปแบบการออม (นิยมออมเงินกับสหกรณ์ออมทรัพย์ ส่วนการลงทุนในหุ้นสามัญ กองทุนรวม และพันธบัตรรัฐบาลได้รับความนิยมน้อย) ในแต่ละเดือนมีการกำหนดการออมไม่แน่นอน เป็นไปตามจำนวนเงินที่เหลือ มีพฤติกรรมด้านการลงทุน นิยมการฝากเงินออมทรัพย์ ส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ ได้แก่ หุ้น และ กองทุนรวม ได้รับความนิยมน้อย และมีพฤติกรรมด้านการวางแผนทางการเงินเพื่อการเกษียณอายุ โดยนิยมในรูปแบบหุ้นสหกรณ์ พบว่าพฤติกรรมการวางแผนการเงินของบุคคลที่ไม่มีการวางแผน คือ ด้านรายได้ ด้านค่าใช้จ่าย ด้านการออมและการลงทุน มีผลต่อสาเหตุของปัญหาด้านการจัดการทางเงินส่วนบุคคล ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการจัดการทางการเงิน ด้านการบริหารรายได้ ด้านการบริหารรายจ่ายด้านการออม ด้านการลงทุน และด้านการวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ สาเหตุสำคัญในการตัดสินใจออมเงิน การบริหารรายได้ การจดบันทึกรายรับ - รายจ่าย และวางแผนการใช้จ่าย การควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ลักษณะการออมหรือการลงทุน อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านความรู้และความเข้าใจ วัตถุประสงค์ รูปแบบของการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการทางการเงินส่วนบุคคล ด้านการ บริหารรายได้ ด้านการออม ด้านการลงทุน ด้านการวางแผนเพื่อเกษียณอายุ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
      88  484
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS