Browsing by Subject "การสื่อสารด้วยระบบดิจิตอล"
Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการจัดการเนื้อหาและการสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเนื้อหา Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ ระบบดิจิทัลในประเทศไทย 2) ศึกษาการสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย 3) ศึกษาการสร้าง Engagement ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ (1) แบบบันทึก ข้อมูล (Coding Form) การจัดการเนื้อหาและการสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานี โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย จำนวน 24 สถานี ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2561 (2) แนวคำถามสัมภาษณ์ผู้บริหารหรือผู้อำนวยการ จำนวน 12 คน เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านโซเชียลมีเดีย จำนวน 6 คน และผู้ประกาศข่าวหรือพิธีกร จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน จาก 11 สถานี โทรทัศน์ โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แล้วนำมาประมวลผลข้อมูลที่ได้จากแบบบันทึกข้อมูลในการวิเคราะห์ Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยและบทสัมภาษณ์เชิงลึกมาประมวลรวมกันและวิเคราะห์เนื้อหาตามเค้าโครงการนำเสนอ โดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) แจกแจงความถี่ (Frequency) และร้อยละ (Percentage) แล้วนำเสนอเป็นความเรียงประกอบตาราง ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเนื้อหา Facebook Live ของสถานี โทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและนโยบายที่กำหนดขึ้นโดยส่วนงานที่รับผิดชอบด้านโซเชียลมีเดีย ซึ่งสถานีโทรทัศน์ที่มีสัดส่วนการนำเสนอรายการผ่าน Facebook Live ต่อวัน มากที่สุด ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง TNN 24 รวมทุกประเภทรายการ คิดเป็น 69.16% โดยประเภทรายการที่มีการนำเสนอผ่าน Facebook Live มากที่สุด คือ รายการข่าว ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง Nation TV ความยาว 12.55 ชั่วโมงต่อวัน ปัจจุบัน สถานีโทรทัศน์ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับ Facebook Live ในการนำมาต่อยอดนำเสนอเป็นรายการออนไลน์เพื่อสร้างยอดวิวและสร้างรายได้ 2. การสื่อสารการตลาดผ่าน Facebook Live ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดประเภทการประชาสัมพันธ์มาใช้มากที่สุด รองลงมา คือ การโฆษณาตราสินค้าหรือสินค้าในรายการโทรทัศน์ และการวางสินค้าบนโต๊ะผู้ประกาศข่าว การส่งเสริมการตลาดโดยผู้ประกาศข่าวหรือพิธีกรแนะนำสินค้า และการจัดกิจกรรมทางการตลาดโดยให้ผู้ชมร่วมสนุกรับของรางวัล และมีการใช้ส่วนประสมทางการตลาด เพื่อกำหนดราคาในการนำเสนอรายการผ่าน Facebook Live เป็นแพ็คเกจเพื่อให้องค์กร หน่วยงาน และผู้ผลิตสินค้าได้จัดซื้อตามขนาดและความต้องการ 3. การสร้างพันธสัมพันธ์ (Engagement) ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย สถานีโทรทัศน์ใช้วิธีการสร้างพันธสัมพันธ์ด้วยการให้ผู้ชมกดไลก์ (Like) กดแชร์ (Share) และ แสดงความคิดเห็น (Comment) ผ่านทาง Facebook Live เพื่อรับของรางวัลหรือร่วมสนุกชิงรางวัล ทั้งผ่านการจัดกิจกรรมและการแสดงคอนเสิร์ต
140 643 - Publicationการวิเคราะห์ความหมายของการกดไลก์ (Like) การคอมเมนต์ (Comment) และการแชร์ (Share) บนเฟสบุ๊กในบริบทของคนไทยการวิจัยในหัวข้อเรื่อง “การวิเคราะห์ความหมายของการกดไลก์ (Like) การคอมเมนต์ (Comment) และการแชร์ (Share) บนเฟซบุ๊ก (Facebook) ในบริบทของคนไทย” โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ความหมายของเฟซบุ๊กในบริบทของคนไทย 2) เพื่อวิเคราะห์ความหมายของการกดไลก์บนเฟซบุ๊กในบริบทของคนไทย 3) เพื่อวิเคราะห์ความหมายของการกดคอมเมนต์ บนเฟซบุ๊กในบริบทของคนไทย และ 4) เพื่อวิเคราะห์ความหมายของการกดแชร์บนเฟซบุ๊กในบริบทของคนไทย โดยการศึกษาในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงผสม (Mixed Method Research) ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Groups) มีผู้ร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 21 คน เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความหมายฯ กับผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก ที่ใช้งานอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และเคยกดปุ่มสัญลักษณ์แสดงความรู้สึกปุ่มไลก์ (Like) ปุ่มรักเลย (Love) ปุ่มฮ่าๆ (HaHa) ปุ่มว้าว (Wow) ปุ่มโกรธ (Angry) ปุ่มเศร้า (Sad) ปุ่มคอมเมนต์ (Comment) และปุ่มแชร์ (Share) จากนั้นใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยการสำรวจ (Survey Method) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 425 คน สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. คนไทยส่วนใหญ่มีการมีการให้ความหมายของเฟซบุ๊ก คือ พื้นที่ในการติดตามความเคลื่อนไหวของสังคม (Social Watch & Monitoring Space) เช่น การติดตามข่าวสารสังคมหรือบุคคลที่ต้องการติดตาม เช่น ครอบครัว ญาติ พี่น้อง เพื่อน บุคคลที่น่าเคารพยกย่อง/น่าสนใจ (ค่าเฉลี่ย = 4.04) รองลงมา คือ พื้นที่บันทึกความทรงจำ เช่น รูปภาพ โพสต์ (Post) ต่าง ๆ ที่สนใจเก็บรวบรวมไว้ (ค่าเฉลี่ย = 3.96) น้อยที่สุด คือ พื้นที่ในการอวด เช่น อวดสิ่งของ อวดความสำเร็จของตนเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ (ค่าเฉลี่ย = 3.00) 2. คนไทยให้ความหมายของการกดปุ่มไลก์ (Like) แทนอารมณ์ได้กับในทุกสถานการณ์ ทั้งนี้พบว่า ความหมายรวมทั้งสิ้น จำนวน 42 ความหมาย ได้แก่ 1) ถูกใจ 2) ชอบ (โพสต์ เพื่อน องค์กร หรือคนที่เคารพ) 3) แกล้ง 4) โกรธ 5) เข้าอกเข้าใจกัน 6) เคารพ ยกย่อง 7) โฆษณาสินค้า /บริการ 8) จองพื้นที่/ปักหมุด 9) แซว 10) ตอบแทนน้ำใจ 11) ตักเตือน 12) ติดตาม 13) น่าอัศจรรย์ 14) แบ่งปัน 15) ประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร 16) ประหลาดใจ 17) เป็นคลังข้อมูลส่วนตัว 18) ผิดหวัง 19) พวกเดียวกัน 20) มากกว่าถูกใจ 21) ยินดี/ตื่นเต้น 22) ยิ้มยินดี 23) ยิ้มให้เธอ 24) เยาะเย้ย 25) เยี่ยม 26) รัก (โพสต์ เพื่อน องค์กร คนที่เคารพ) 27) รักษามารยาท 28) รับรู้ รับทราบ 29) เศร้า 30) สนิทกัน 31) สร้างภาพลักษณ์ตนเอง 32) สะใจ สมน้ำหน้า 33) เสียใจ 34) แสดงความคิดเห็น 35) ใส่ใจกัน 36) หัวเราะ 37) หาแนวร่วม 38) เหงื่อตก 39) ให้กำลังใจ 40) อ้อน งอแง 41) อ่อย และ 42) แอบชอบ 3. คนไทยให้ความหมายของการคอมเมนต์รวมทั้งสิ้น 22 ความหมาย ได้แก่ 1) แสดงความคิดเห็น 2) แกล้ง 3) โกรธ 4) เข้าอกเข้าใจกัน 5) จองพื้นที่/ปักหมุด 6) แซว 7) ตักเตือน 8) ถูกใจ 9) พวกเดียวกัน 10) ยินดี/ตื่นเต้น 11) ยิ้มยินดี 12) เยาะเย้ย 13) รัก (โพสต์ เพื่อน องค์กร คนที่เคารพ) 14) รักษามารยาท 15) รับรู้ รับทราบ 16) สนิทกัน 17) สะใจ สมน้ำหน้า 18) เสียใจ 19) ใส่ใจกัน 20) เหงื่อตก 21) ให้กำลังใจกัน และ 22) อ้อน งอแง 4. คนไทยให้ความหมายของของปุ่มแชร์ทั้งสิ้น 12 ความหมาย ได้แก่ 1) แบ่งปัน 2) หาแนวร่วม 3) เคารพ ยกย่อง 4) โฆษณาสินค้า/บริการ 5) จองพื้นที่/ปักหมุด 6) ติดตาม 7) ถูกใจ 8) ประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการ หรือองค์กร 9) เป็นคลังข้อมูลส่วนตัว 10) มากกว่าถูกใจ 11) สร้างภาพลักษณ์ตัวเองตนเอง และ 12) หัวเราะ
496 539