Browsing by Subject "การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน"
Now showing 1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการศึกษาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและราคาหุ้นแอมะซอน.คอมในระบบอีคอมเมิร์ซการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและราคาหุ้นแอมะซอน.คอมในระบบอีคอมเมิร์ซ โดยใช้ข้อมูลอนุกรมรายไตรมาส (Time series) ตั้งแต่ ไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2551 ถึง ไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2563 ระยะเวลา 12 ปีย้อนหลัง รวมทั้งสิ้น 48 ไตรมาส โดยใช้แบบจำลอง ARDL (Autoregressive Distributed Lag) และทดสอบด้วยวิธี Cointegration เพื่อหาความสัมพันธ์ดุลยภาพระยะยาวระหว่างอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ และราคาหุ้นแอมะซอน.คอม ผลการศึกษาความสัมพันธ์ดุลยภาพระยะยาวของตัวแปรอิสระทั้งหมด 5 ตัวแปร โดยใช้ข้อมูลอัตราส่วนทางการเงินจาก 5 กลุ่มอัตราส่วน ได้แก่ 1.อัตราส่วนเงินหมุนเวียน (Current Ratio: CR) 2. อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Asset Turnover: TAT) 3. อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity Ratio:D/E) 4. อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on equity ratio: ROE) 5. อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี (P/BV Ratio: PBV) ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนเงินหมุนเวียน (Current Ratio: CR) อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Asset Turnover: TAT) อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on equity ratio: ROE) อัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี (P/BV Ratio: PBV) ส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์แอมะซอน.คอมอย่างมีนัยสำคัญในระยะยาว แต่อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity Ratio: D/E) ไม่ส่งผลกระทบต่อ ราคาหลักทรัพย์แอมะซอน.คอมอย่างมีนัยสำคัญในระยะยาว
213 670 - Publicationความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหุ้นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษากลุ่มอุตสาหกรรมบริการหมวดขนส่งและโลจิสติกส์การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ หมวดขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 64 ตัวอย่าง ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2561 โดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน จำนวน 4 อัตราส่วน คือ อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนการวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไร และอัตราส่วนนโยบายทางการเงิน โดยใช้ราคาหุ้น ณ วันสิ้นปี เป็นตัวแปรตาม และวิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการหมวดขนส่งและโลจิสติกส์ คือ อัตราส่วนนโยบายทางการเงิน และ อัตราส่วนสภาพคล่อง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับราคาหุ้นที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
163 617 - Publicationความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ระหว่างบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหาร โดยเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร จำนวน 8 บริษัท กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 28 บริษัท และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จำนวน 2 บริษัท รวม 38 บริษัท ในช่วงไตรมาศที่ 1 พ.ศ.2557 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2562 รวมทั้งสิ้น 912 ตัวอย่าง ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) วิเคราะห์สัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ จากการศึกษาพบว่า มีอัตราส่วนทางการเงินจำนวน 8 อัตราส่วน ได้แก่ อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราความสามารถในการชำระดอกเบี้ย อัตรากำไรขั้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นมีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญจากนั้นเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินดังกล่าวกับราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยการใส่ตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) ทำการวิเคราะห์โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา พบว่า ที่อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ อัตราความสามารถในการช าระดอกเบี้ย อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ในขณะที่ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อัตรากำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการศึกษากับอัตราผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหลักทรัพย์ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) โดยการแทนค่าตัวแปรหุ่น (Dummy Variable) พบว่าความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ตลาดหลักทรัพย์ไม่มีความแตกต่างกัน
1325 24445