logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Subject

Browsing by Subject "การวางผังสำนักงาน"

Now showing 1 - 2 of 2
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    การเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานด้วยการพัฒนาขั้นตอนการดําเนินงานและการจัด Layout กรณีศึกษาแผนก Operation บริษัท FLS1993 (Thailand) Co., Ltd.
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2021)
    ฐิตินันท์ เย็นสบาย.
    ;
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ พบปัญหาจากการศึกษาขั้นตอนการดำเนินงาน พบว่า แต่ละฝ่ายต้องมีการติดต่อสื่อสารกันภายใน เพื่อให้งานแต่ละชิ้นเสร็จสิ้นไปด้วยดีแต่การวาง Layout ของแผนก ทำให้ฝ่ายที่มีการติดต่อสื่อสารมากอยู่ไกลกัน ทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างแผนก การส่งเอกสารต้องใช้ระยะทางและเวลามากขึ้น และยังพบว่า ขั้นตอนการดำเนินงานบางส่วนมีการซ้ำซ้อนกันของแต่ละฝ่าย กล่าวคือ งานที่ควรเป็นของฝ่ายที่ 1 แต่ฝ่ายที่ 2 กลับมาทำงานนี้ด้วย ทำให้เกิดการซ้ำซ้อนในการทำงาน จากปัญหาที่กล่าวมา ถือเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับพนักงานโดยไม่จำเป็น ทำให้พนักงานต้องทำงานหนักขึ้น และเป็นการใช้เวลาในการทำงานมากเกินไป โดยการศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานโดยการลดระยะเวลาในการทำงาน และขั้นตอนของการปฏิบัติงาน และเพื่อศึกษาปรับปรุงและพัฒนาขั้นตอนการทำงานและการจัดวาง Layout ภายในสำนักงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในด้านระยะเวลาการปฏิบัติงานของพนักงาน จากการศึกษาความรู้เรื่องทฤษฎี Load-distance Technique, ทฤษฎี ECRS, Lean Office และการจัดวาง Layout สำนักงาน เข้ามาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากที่ได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานและปรับปรุง Layout ของสำนักงานใหม่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อขั้นตอนการนำเข้า ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการทำงานของ CS ลดลงจาก 5 ขั้นตอน เหลือ 2 ขั้นตอน เวลาในการทำงานรวมลดลง 1 ชั่วโมง จากการปรับปรุงกระบวนการทำงาน คิดเป็น 19.34% เวลาในการติดต่อสื่อสารลดลง 15 นาที คิดเป็น 42.85% ระยะทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารและส่งเอกสาร ลดลง 20 เมตร คิดเป็น 33.89% เส้นทางการติดต่อสื่อสารและการส่งต่อเอกสารเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้การทำงานไหลลื่นมากขึ้น หลังจากปรับปรุงกระบวนการทำงานและการจัด Layout ใหม่ช่วยให้เวลาและระยะทางในการทำงานลดลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพในด้านระยะเวลาในการทำงาน และขั้นตอนของการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา นอกจากนี้การปรับปรุงที่เกิดขึ้นยังช่วยให้เส้นทางการติดต่อสื่อสารและการส่งต่อเอกสารเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้การทำงานไหลลื่นเป็นขั้นตอนมากขึ้น
      136  1170
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    เทคโนโลยีการบริหารพื้นที่ทำงานแบบชีวิตวิถีใหม่
    (University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2021)
    สิริกร บุญภาย
    ;
    สุวรรณี อัศวกุลชัย
    ;
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการเงิน.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะบริหารธุรกิจ.
    ;
    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. คณะวิศวกรรมศาสตร์.
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประยุกต์เทคโนโลยีต่างๆ ในการบริหารจัดการพื้นที่ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสำนักงานใหญ่ อาคารทาวเวอร์ เพื่อรองรับชีวิตวิถีใหม่ ในการศึกษาครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการบริการจัดการพื้นที่ และแสดงผลด้วยภาพ (data visualization) ด้วย Power BI 2. การออกแบบแปลนพื้นที่ใหม่ โดยใช้โปรแกรม AutoCAD และ 3. การเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ทำงานแบบชีวิตวิถีใหม่ ผลจากการศึกษา 1. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริการจัดการพื้นที่ ได้แก่ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ค่าไฟฟ้า จำนวนพนักงานในแต่ละส่วนงาน พบว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้าช่วงก่อนและหลังโควิดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจากระบบไฟถูกจัดเป็นโซน ระบบปรับอากาศแบบรวมศูนย์และลดจำนวนพนักงาน แต่มาทำงานกระจายทุกโซน ทำให้ค่าไฟฟ้าไม่ลดลง 2. การออกแบบแปลนพื้นที่ใหม่ แบ่งโซนการทำงาน ทำให้ลดพื้นที่ทำงานลง 6 ชั้น และค่าไฟฟ้าลดลงร้อยละ 22.18 และ 3. แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ทำงานแบบชีวิตวิถีใหม่ มี 2 แนวทาง ได้แก่ 1. พื้นที่ที่ปิด ไม่นำไปใช้ประโยชน์ แต่ก็ต้องเสียค่าบริหารจัดการเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.63 และ 2. พื้นที่ที่ปิด ปรับเป็น co-working space ให้เช่า เพื่อสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการเงิน เสียค่าบริหารจัดการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 147.64 แต่ได้ค่าเช่า ทั้งนี้แนวทางที่ 2 มีระยะเวลาคืนทุน 2.5 ปี และได้ผลตอบแทนมากกว่าแนวทางที่ 1 กล่าวโดยสรุป การบริหารจัดการพื้นที่ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานใหญ่ อาคารทาวเวอร์ เพื่อรองรับชีวิตวิถีใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีทำให้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร การศึกษาขั้นต่อไป คือ การขยายผลการศึกษาไปยังอาคารคอมพิวเตอร์ และอาคารโพเดียม
      57  431
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS