Browsing by Subject "การประหยัดและการออม"
Now showing 1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
- Publicationปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นวอลเล็ต สบม.ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ครั้งที่ 2 กรณีศึกษา ลูกค้าของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย จังหวัดกรุงเทพมหานครวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการซื้อ และระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดระหว่างกลุ่มที่ซื้อและไม่ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นวอลเล็ต สบม. ของกระทรวงการคลัง โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการเก็บแบบสอบถามจำนวน 400 คน และทดสอบด้วยสมมติฐาน ด้วยสถิติ Chi-square และ t-test ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไป พบว่า ผู้ที่ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นวอลเล็ต สบม.ของกระทรวงการคลัง เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 31-50 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือราชการ จำนวนสมาชิกใครอบครัว 2 คน มีรายได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 25,000 บาท มีรายจ่ายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 25,000 บาท มีระยะเวลาการลงทุนน้อยกว่า 1 ปี มีรูปแบบการลงทุนในรูปแบบการฝากเงินธนาคาร มีการออมเงินผ่านช่องทางธนาคาร ระยะเวลาในการลงทุนปีละ 1 ครั้ง ด้านส่วนร่วมในการตัดสินใจลงทุนมากที่สุดคือเพื่อน สามารถยอมรับความเสี่ยงได้มาก ทราบเงื่อนไขในรูปแบบการออมเงินเป็นอย่างดี วงเงินขั้นต่ำในการลงทุนอยู่ที่ต่ำกว่า 50,000 บาท
69 532 - Publicationปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออมและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากร กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จำนวน 350 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยสถิติเชิงพรรณาใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์ความแตกต่างใช้ค่า t-test และค่า F-test (One-Way ANOVA) และสถิติสัมพันธ์ไคลสแควร์ (Chi-Square) ในการวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 27 - 37 ปี สถานภาพโสด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นข้าราชการ อายุงาน 1 - 5 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 – 25,000 บาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน (ไม่รวมภาระหนี้สิน) 10,000 – 20,000 บาท และมีภาระหนี้สินที่ต้องชำระต่อเดือน 5,000 – 10,000 บาท มีเงินออม 1,000 – 2,000 บาทต่อเดือน มีการออมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ของหน่วยงาน มีการคำนวณค่าใช้จ่ายต่อเดือนเมื่อเกษียณ 15,001 - 20,000 บาท มีรูปแบบการออมในบัญชีเงินฝากธนาคาร และมีวัตถุประสงค์ในการออมเพื่อไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านประเภทบุคลากร และด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน จะส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่แตกต่างกัน และค่าใช้จ่ายต่อเดือนเมื่อเกษียณมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของบุคลากรกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
135 1097 - Publicationปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจและแนวโน้มการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมของผู้ที่มีรายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร(2019)งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจและแนวโน้มการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม เก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามโดยการสุ่มตัวอย่างจากผู้ที่มีเงินได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยมีตัวแปรอิสระ (Independent Variable) ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ ประสบการณ์การลงทุนใน LTF และ RMF และมีตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจในการลดหย่อนภาษีของกองทุนรวมเพื่อการออม แนวโน้มการตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจในกองทุนรวมเพื่อการออม คือ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์การลงทุนใน LTF และ RMF การเลือกลงทุนในตราสารทุน เงินฝาก/สลากออมทรัพย์ สหกรณ์ออมทรัพย์ หุ้น นอกจากนี้ยังพบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อาชีพ ประสบการณ์การลงทุนใน LTF และ RMF มีผลต่อแนวโน้มการตัดสินใจลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการออมอย่างมีนัยสำคัญ
72 435