Browsing by Subject "การซื้อสินค้าทางไกล"
Now showing 1 - 3 of 3
Results Per Page
Sort Options
- Publicationปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น SHEINการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประชากรศาสตร์ กับการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น SHEIN เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น SHEIN และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาด 7P’s กับการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น SHEIN โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยวิธีทางสถิติ SPSS ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และวิธี Chi-Square จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพนักเรียน/นักศึกษา รายได้ต่อเดือน 10,000 - 20,000 บาท โดยส่วนใหญ่ซื้อสินค้าจากช่องทางแอพพลิเคชั่น 1 - 2 ครั้งต่อเดือน และเฉลี่ยนค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 501 - 1,000 บาท ส่วนการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ พบว่า ปัจจัยด้านเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น SHEIN ที่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านอายุ สถานภาพ อาชีพ ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น SHEIN ไม่แตกต่างกัน และส่วนของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น SHEIN มี 7 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการจัด จำหน่าย ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ
449 1742 - Publicationปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อครีมกันแดดแบรนด์ใหม่ที่ไม่ใช่เคาน์เตอร์แบรนด์ผ่านช่องออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อครีมกันแดดแบรนด์ใหม่ที่ไม่ใช่เคาน์เตอร์แบรนด์ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้บริโภคที่เคยซื้อครีมกันแดดแบรนด์ใหม่ที่ไม่ใช่เคาน์เตอร์แบรนด์ผ่านช่องทางออนไลน์และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 405 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และสถิติ One way ANOVA (F-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อครีมกันแดดแบรนด์ใหม่ที่ไม่ใช่เคาน์เตอร์แบรนด์ผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ดารา นักแสดง ที่มีชื่อเสียง เป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุด ทีวี และเว็บขายสินค้าออนไลน์เป็นช่องทางที่ได้รับข่าวสารบ่อยที่สุด ซื้อผ่านช่องทาง Social Media ของแบรนด์ (เช่น Facebook, Instragram, Line ฯลฯ) และซื้อผ่านช่องทาง Website ขายสินค้า Online (เช่น Shopee, Lazada, JD Central ฯลฯ) มากที่สุด ความถี่ในการซื้อ ซื้อ 1 ครั้ง/2 เดือน ใช้เงินในการซื้อต่อครั้งต่ำกว่า 1,000 บาท การชำระเงินเลือกวิธีการ ชำระเงินปลายทาง เลือกส่งพัสดุแบบธรรมดา เลือกบริการขนส่งของ Kerry มากที่สุด ด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย ผู้บริโภคมีความคิดเห็นในเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดแบรนด์ใหม่ที่ไม่ใช่เคาน์เตอร์แบรนด์ที่ซื้อล่าสุด โดยมีระดับความพึงพอใจที่ดีมาก กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาร้อยละ 91.29 เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26-35 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดปริญญาตรี เป็นพนักงานเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท อายุ อาชีพ ผู้มีอิทธิพล ช่องทางการรับรู้ข่าวสาร ช่องทางการซื้อ ความถี่ในการซื้อ วิธีการชำระเงิน บริการขนส่ง ปัจจัยเหล่านี้แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่แตกต่างกัน ในขณะที่ ปัจจัยเกี่ยวกับ เพศ การศึกษา รายได้ ราคาเฉลี่ยต่อครั้งในการซื้อ และวิธีจัดส่งสินค้าที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่ไม่แตกต่างกัน
356 1912 - Publicationพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าบนระบบ LAZADA ในเขตกรุงเทพมหานครการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริโภคกับการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น LAZADA เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าบนระบบ LAZADA ในเขตกรุงเทพมหานครและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาด 7P’s กับการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์ทางแอพพลิเคชั่น LAZADA โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยวิธีทางสถิติ SPSS ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และวิธี Chi-Square จากผลการศึกษาพบว่า ความถี่ในการซื้อสินค้าออนไลน์ต่อเดือน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความถี่ในการซื้อสินค้าออนไลน์ต่อเดือน 1-2 ครั้ง จำนวน 212 ราย ซื้อสินค้าจากทาง LAZADA ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ซื้อสินค้าจากทาง LAZADA เป็น กระเป๋า จำนวน 154 ราย เพศ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 189 ราย อายุ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 20-30 ปี จำนวน 357 ราย สถานภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีสถานภาพ โสด จำนวน 375 ราย ระดับการศึกษา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา อยู่ในระดับ ปริญญาตรี จำนวน 308 ราย รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ในช่วง 10,001 – 20,000 บาท จำนวน 140 ราย อาชีพ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอาชีพ พนักงานเอกชน จำนวน 224 ราย ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ขนาดของอิทธิพลของปัจจัยทางส่วนประสมการตลาด มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภค ต่อการซื้อสินค้าบนระบบ LAZADA ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยทางส่วนประสมการตลาด ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการ ด้านราคา ด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการซื้อสินค้าบนระบบ LAZADA ในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับ ปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาด ไม่ว่าจะเป็น ส่วนลด/ของแถม การโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ หรือ ด้านกระบวนการที่ระบบ LAZADA นั้น มีความรวดเร็วในการให้บริการ การสั่งซื้อ และชำระเงิน เป็นไปด้วยความสะดวกสบาย รวมถึงด้านราคา ที่จะเห็นได้ว่า สินค้าในระบบ LAZADA นั้นมีราคาที่หลากหลายและมีราคาถูกกว่าที่อื่น สอดคล้องกับงานวิจัยของ ชนิตา เสถียรโชค (2560) ที่ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ต่อการซื้อสินค้าบนระบบ LAZADA โดยผลการศึกษาพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ต่อการซื้อสินค้าบนระบบ LAZADA
393 3028