logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
logo
  • Communities & Collections
  • Research Outputs
  • Projects
  • People
  • Organizations
  • Statistics
  • English
  • ไทย
  • Log In
    Have you forgotten your password?
  1. Home
  2. Browse by Subject

Browsing by Subject "การกำกับดูแลกิจการ"

Now showing 1 - 5 of 5
Results Per Page
Sort Options
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    การศึกษาความสัมพันธ์ของคะแนนการกำกับดูแลกิจการ ค่าตอบแทนกรรมการอิสระกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลุ่มอุตสาหกรรมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม)
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    เมริน กล้าแท้
    การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของคะแนนการกำกับดูแลกิจการ ค่าตอบแทนกรรมการอิสระ กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลุ่มอุตสาหกรรมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคะแนนการกำกับดูแลกิจการ กับค่าตอบแทนกรรมการอิสระของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลุ่มอุตสาหกรรมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม) 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคะแนนการกำกับดูแลกิจการ ค่าตอบแทนกรรมการอิสระ กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลุ่มอุตสาหกรรมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินประจำปีที่เปิดเผยการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการอิสระ ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-1) ปี 2561 – 2562 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลุ่มอุตสาหกรรมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม) และข้อมูลคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) จำนวน 60 ตัวอย่าง โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) คะแนนการกำกับดูแลกิจการ มีความสัมพันธ์กับค่าตอบแทนกรรมการอิสระ มีค่าเป็นบวก อยู่ในระดับต่ำอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2) คะแนนการกำกับดูแลกิจการ ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานทั้งอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ค่าตอบแทนกรรมการอิสระ มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานทั้งอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) มีค่าเป็นบวก อยู่ในระดับต่ำอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาในครั้งนี้อาจจะนำไปเป็นประโยชน์ต่อบริษัทในการปรับปรุงโครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการให้เหมาะสมและโปร่งใสตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และแสดงให้เห็นว่าคณะกรรมการบริษัทได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสามารถนำไปประกอบการพิจารณาในการปรับโครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนได้
      293  765
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับการจัดการกำไรของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์แก่สาธารณชนเป็นครั้งแรก กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    ปวีณา ทองมนต์
    การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับการจัดการกำไรของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์แก่สาธารณชนเป็นครั้งแรก กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยตัวแปรด้านการกำกับดูแลกิจการ ประกอบไปด้วย ขนาดของคณะกรรมการ, สัดส่วนกรรมการอิสระ, การแยกระหว่างบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารและสัดส่วนความเป็นเจ้าของบริษัทของคณะกรรมการและผู้บริหาร ส่วนตัวแปรการจัดการกำไร ผู้ศึกษาเลือกใช้แบบจำลอง Yoon Model ในการคำนวณหาค่ารายการคงค้างที่เกิดจากดุลยพินิจของผู้บริหาร (Discretionary Accruals) ซึ่งได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากงบการเงินประจำปี 2558 - 2561 มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 107 บริษัท เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 55 บริษัท และบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ จำนวน 52 บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและทดสอบสมมติฐาน ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษา ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่วัดการกำกับดูแลกิจการกับการจัดการกำไรโดยใช้รายการคงค้างตามดุลยพินิจของผู้บริหาร
      396  3057
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    สุชญา ชาญณรงค์กุล
    การศึกษานี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้จากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ใช้ฐานข้อมูลจาก SETSMART (SET Market Analysis and Reporting Tool) รายงานประจำปีแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) เพื่อหาสัดส่วนของคณะกรรมการอิสระต่อคณะกรรมการทั้งหมด (IND) วัดผลการดำเนินงานโดยการวัดอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE) และอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin : NPM) โดยใช้ข้อมูลไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2561 ถึงไตรมาสที่ 4 พ.ศ. 2562 ปิดงบการเงินรอบปีบัญชี 31 ธันวาคม และใช้ข้อมูลรายชื่อของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการสำรวจเพื่อติดตามและวัดผลการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการ Corporate Governance Report of Thai Listed Companies : CGR) พ.ศ. 2561 ถึง พ.ศ. 2562 เพื่อรวบรวมข้อมูลคะแนนการกำกับดูแลกิจการ (CG Score) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและตัวแปรเบื้องต้นโดยใช้ค่าเฉลี่ยของข้อมูล (Mean) ค่าสูงสุด (Maximum) ค่าต่ำสุดของข้อมูล (Minimum) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Daviation) และความแปรปรวน (Variance) เพื่อให้เห็นภาพทั่วไปของข้อมูล ในการศึกษาครั้งนี้ยังมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน ด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิส์หสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ จากการศึกษาพบว่าคะแนนการกำกับดูแลกิจการ (CGScore) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการดำเนินงานที่วัดด้วยอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity : ROE) และอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin : NPM) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สัดส่วนคณะกรรมการอิสระในคณะกรรมการบริษัท (IND) ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานที่วัดด้วยอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตรากำไรสุทธิ (NPM) อาจเป็นเพราะโดยส่วนใหญ่ สัดส่วนคณะกรรมการอิสระในคณะกรรมการทั้งหมด จะมีค่าประมาณใกล้เคียง 33% หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ซึ่งปฏิบัติตามกฏระเบียบเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแต่เพียงเท่านั้น
      447  1406
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ค่าตอบแทนคณะกรรมการและการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทในหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    ณัฐริกา อนุเวช
    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าตอบแทนคณะกรรมการและการกำกับดูแลกิจการกับผลการดำเนินงานของบริษัทในหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือบริษัทในหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ จำนวน 27 บริษัท จำแนกตามขนาดของบริษัท ประกอบด้วย บริษัทขนาดใหญ่ 14 บริษัท บริษัทขนาดกลาง 4 บริษัท และบริษัทขนาดเล็ก 9 บริษัท ระหว่างปี พ.ศ. 2557 - 2561 รวม 5 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากข้อมูลงบการเงิน แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) รายงานประจำปีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการประเมินการกำกับดูแลกิจการ งานวิจัยนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการจัดอันดับผลการดำเนินงาน ในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นปีล่าสุด พบว่าอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม อยู่ระหว่าง -7.06 % ถึง 20 % และผลการจัดอันดับมูลค่าทางตลาด (Tobin’s Q) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.69 % ถึง 4.26 % และผลการศึกษาการถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่าค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และพบว่าการประเมินการกำกับดูแลกิจการ ขนาดของบริษัทไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม นอกจากนี้ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทไม่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าทางตลาด (Tobin’s Q) และพบว่าการประเมินการกำกับดูแลกิจการขนาดของบริษัทไม่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าทางตลาด (Tobin’s Q)
      223  953
  • Loading...
    Thumbnail Image
    Publication
    ปัจจัยการกำกับดูแลที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)
    (University of the Thai Chamber of Commerce, 2019)
    กนกวรรณ ชินสถิต
    การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับผลตอบแทนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) ในช่วงปี พ.ศ. 2561 โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 610 บริษัท ตัวแปรที่ใช้ได้แก่ ขนาดของคณะกรรมการ สัดส่วนกรรมการอิสระการควบรวมตำแหน่งประธานบริหารและประธานกรรมการคนเดียวกันและจำนวนครั้งการในเข้าประชุมต่อปี ตัวแปรควบคุม ได้แก่ ขนาดของบริษัท ตัวแปรตาม คือ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และกำไรต่อหุ้น (EPS) และใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ในการศึกษา จากการศึกษาความสัมพันธ์พบว่าขนาดของคณะกรรมการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับกำไรต่อหุ้น (EPS) ส่วนจำนวนครั้งการประชุมกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญกับอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE)
      191  1116
  • Cookie settings
  • Privacy policy
  • Send Feedback
University of the Thai Chamber of Commerce
Powered by DSpace-CRIS