EC: Independent Studies
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing EC: Independent Studies by Author "ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Publicationการนำหลักเศรษฐศาสตร์มาคิดคำนวณค่าเสียหายในคดีละเมิดทางแพ่ง(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
; ; ; ; การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี การนำหลักเศรษฐศาสตร์มาคิดค่าเสียหายในคดีละเมิดทางแพ่ง เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีนำหลักนิติเศรษฐศาสตร์มาคิดคำนวณค่าเสียหายในคดีละเมิดทางแพ่งและเพื่อศึกษากำหนดแนวทางในการนำหลักเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้การคิดคำนวณค่าเสียหายในคดีละเมิดทางแพ่ง เพื่อเป็นใช้เป็นหลักเกณฑ์ในศาลยุติธรรมในประเทศไทยผลการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยยังบัญญัติไม่ครอบคลุมถึงค่าเสียหายทางจิตใจ เหมือนกฎหมายแพ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษโดยหลักเกณฑ์ในการคิดค่าเสียหายในคดีละเมิดทางแพ่ง คำพิพากษาศาลฎีกาไทยไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และแผนตารางในการคำนวณที่แน่นอน เพราะเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในตามความเป็นจริงประกอบกับกฎหมายไทยเป็นระบบกล่าวหา เป็นหน้าที่นำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ โดยในคดีละเมิดศาลไทยได้พิจารณาถึงหลักเกณฑ์ระดับความเสียหาย แต่ในขณะเดียวกันในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ พิจารณาโดยลูกขุน เกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนลักษณะเชิงลงโทษ โดยกำหนดเกณฑ์ค่าเสียหายล่วงหน้าและค่าเสียหายตามความเป็นจริงการนำหลักเศรษฐศาสตร์มาคิดคำนวณค่าเสียหายมีข้อจำกัดทั้งที่เป็นค่าเสียหายที่เป็นตัวเงินและค่าเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน มีข้อจำกัดเกี่ยวกับกฎหมายและการขาดหลักหรือวิธีการคำนวณที่เหมาะสม ส่งผลให้วิธีการคำนวณค่าเสียหายที่ศาลใช้ไม่สามารถทำให้ผู้เสียหายได้รับการชดเชยอย่างครบถ้วนและเป็นธรรมและไม่สามารถจูงใจให้เกิดการใช้ความระมัดระวังในระดับที่เหมาะสมได้ งานวิจัยฉบับนี้ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะละเมิด โดยกำหนดค่าเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงิน ให้ครอบคลุมถึงความเสียหายทางจิตใจ 2) ให้กำหนดตารางคำนวณค่าเสียหายที่ไม่เป็นตัวเงินไว้ท้ายตารางประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อสร้างหลักเกณฑ์การคิดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าเป็นค่าเสียหายเชิงลงโทษ 3) แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะละเมิด กำหนดให้อำนาจศาลแก้ไขคำพิพากษาในส่วนค่าเสียหายเกินสองปีให้ศาลมีอำนาจไต่สวนและแก้ไขเพิ่มเติมค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายได้การขยายระยะเวลาในการสงวนสิทธิแก้ไขคำพิพากษาของศาลออกไป เป็นเวลามากกว่าสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 444 วรรคสอง โดยระยะเวลาในการสงวนสิทธิที่เหมาะสมควรเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอ จนกระทั่งอาการของโรคที่มีระยะฟักตัวนานปรากฏขึ้น 4) การคำนวณค่าเสียหายที่เหมาะสม อาจมีความซับซ้อนมากขึ้น ผู้พิพากษาและทนายของคู่ความอาจไม่สามารถคำนวณได้อย่างเหมาะสม เห็นควร สนับสนุนให้ศาลร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันกำหนดค่าเสียหาย ควรให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาต่างๆ มาทำหน้าที่เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะในกรณีที่การคำนวณค่าเสียหายมีความซับซ้อนมาก 5) การกำหนดค่าเสียหายที่เป็นตัวเงิน เห็นควรสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในหลัก/ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหาย เช่น ทฤษฎีว่าด้วยค่าเสียหายที่เหมาะสมและการใช้ค่าเสียโอกาสและมูลค่าส่วนตัวในการกำหนดค่าเสียหาย ทั้งนี้ เพื่อให้นักกฎหมายมีมุมมองที่แตกต่างออกไปและสามารถนำหลักเศรษฐศาสตร์ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสมได้ 6) การกำหนดค่าเสียหายในอนาคต เนื่องจากในบางครั้งศาลอาจจะยังไม่มีวิธีการที่เหมาะสมเพียงพอในการคำนวณค่าเสียหายในอนาคต หรือแม้บางครั้ง อาจมีการใช้วิธีการที่เหมาะสม แต่วิธีการเหล่านั้น ไม่ใช่วิธีที่เป็นบรรทัดฐานในการกำหนดค่าเสียหายในอนาคตเห็นควร พัฒนาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการกำหนดค่าเสียหายในอนาคต โดยการจัดทำคู่มือในการคำนวณค่าเสียหายซึ่งระบุสูตรคำนวณ วิธีการ และขั้นตอนในการคำนวณ หากมีการนำตารางช่วยคำนวณมาใช้ในการกำหนดค่าเสียหายจริง เปิดช่องให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายที่แตกต่างจากมูลค่าที่คำนวณจากตารางได้117 1110