EC: Independent Studies
Permanent URI for this collection
Browse
Browsing EC: Independent Studies by Author "ชูรัตนานันท์ สาระยิ่ง"
Now showing 1 - 1 of 1
Results Per Page
Sort Options
- Publicationความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมการออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการก่อสร้าง กรณีศึกษาบริษัทก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร(University of the Thai Chamber of Commerce (UTCC), 2022)
; ; ; ; งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมการออกแบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการก่อสร้าง บริษัทก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา 2) วัดระดับ และ 3) เปรียบเทียบความพึงพอใจของการใช้นวัตกรรมการออกแบบ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้แนวคิดความพึงพอใจ และทฤษฎีผลิตภาพแรงงานทางเศรษฐศาสตร์ เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามออนไลน์จากตัวแทนบริษัทก่อสร้างที่จดทะเบียน ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 410 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย 1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 2) สถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การแจกแจงแบบที (Independent sample t-test) ความแปรปรวนทางเดียว (F-test or one-way Anova) การแจกแจงไคสแควร์ (Chi-Square) และ การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีกราฟของ เชฟเฟ่ (Scheffe) ด้วยโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์กรส่วนใหญ่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ บุคลากรมีการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ มีประสบการณ์การทำงาน 11-15 ปี ในองค์กรประเภทบริษัทจำกัด มีบุคลากร >100 คน เชี่ยวชาญงานอาคารสูง องค์การเอกชนคือลูกค้าหลัก ใช้ (Computer-aided design : CAD) ในการออกแบบ ได้รับผลเชิงบวกจากการใช้เทคโนโลยีในการออกแบบ 2) ความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมในการออกแบบก่อสร้าง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การบริหารระยะเวลา การจัดการต้นทุน การจัดการของเสีย การเพิ่มกำไรสุทธิ ยกเว้นการบริหารแรงงาน มีความพึงพอใจระดับปานกลาง 3) การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ และไม่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ส่งผลต่อความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการจัดการต้นทุนที่แตกต่างกัน โดยบริษัทที่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มีความพึงพอใจมากกว่าบริษัทที่ไม่นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ประสบการณ์ในการบริหารจัดการโครงการต่างกัน มีความพึงพอใจแตกต่างกัน บริษัทก่อสร้าง ที่ได้รับผลบวกจากการใช้นวัตกรรม มีความพึงพอใจแตกต่างกัน ยกเว้นด้านการบริหารแรงงานที่ไม่แตกต่างกัน จำนวนบุคลากรต่างกัน มีความพึงพอใจแตกต่างกัน ยกเว้น ด้านการเพิ่มกำไรสุทธิ และด้านการบริหารระยะเวลาที่ไม่แตกต่างกัน35 258